วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

วัดจะทิ้งพระ !!! !

โครงงาน..วัดจะทิ้งพระ
จัดทำโดย
พิชญาภา วงศ์หมัดทอง เลขที่ 8
จันทราพร แซ่ลี้ เลขที่ 20
ตรีรัตน์ เรืองศรี เลขที่ 22
นุชจรี บินเด็น เลขที่ 25
สุพัตรา คณะพันธ์ เลขที่ 26
วนิดา ชูปัญญา เลขที่ 28
เสนอ
อาจารย์การุณย์ สุวรรณรักษา
ความเป็นมาของการทำโครงงาน : เนื่องจากการเรียนในวิชาประวัติศาสตร์ ได้มอบหมายให้มีการศึกษาค้นคว้าสถานที่ที่เป็นประวัติศาสตร์ของจังหวัดสงขลา กลุ่มของข้าพเจ้าจึงได้พิจารณากันว่าจะศึกษาวัดจะทิ้งพระ ซึ่งอยู่อำเภอ สทิ้งพระ จังหวัดสงขลา เนื่องด้วยวัดจะทิ้งพระเป็นวัดที่มีประวัติน่าสนใจ มีมายาวนาน และด้วยมีสมาชิกในกลุ่มของข้าพเจ้ามีภูมิลำเนาในพื้นที่ดังกล่าว จึงทำให้กลุ่มของข้าพเจ้าเลือกศึกษาวัดจะทิ้งพระ.. .

วัตถุประสงค์ของโครงงาน :
1. เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของวัดจะทิ้งพระ
2. เพื่อให้เป็นแหล่งข้อมูลของผู้ที่ต้องการศึกษา

แผนผังโครงงานแบบตาราง
13 ก.ค. 53 ปรึกษาหารือเลือกสถานที่ (อาคารพวงทองฯ (411)) สมาชิกทุกคนในกลุ่ม
17 ก.ค. 53 ไปวัดจะทิ้งพระเพื่อหาข้อมูล และถ่ายรูป (วัดจะทิ้งพระ) สมาชิกทุกคนในกลุ่ม
สิงหาคม 53 รวบรวมข้อมูล และจัดพิมพ์ (บ้าน) พิชญาภา วงศ์หมัดทอง
7 ก.ย. 53 นำเสนอลง blog ( บ้าน ) พิชญาภา วงศ์หมัดทอง

ขั้นตอนการดำเนินการ :
1. ประชุมเลือกสถานที่ที่จะศึกษาค้นคว้า
2. ศึกษาหาข้อมูลวัดจะทิ้งพระ
3. ไปวัดจะทิ้งพระ เพื่อสอบถามหาข้อมูล และถ่ายรูป
4. เรียบเรียงข้อมูล และจัดพิมพ์
5. นำเสนอโครงงาน


ผลการศึกษา :


วัดจะทิ้งพระ ตั้งอยู่ริมถนนสายหัวเขาแดง-ระโนด ในท้องที่หมู่ที่ 4 ตำบลจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา วัดนี้เป็นวัดที่เก่าแก่วัดหนึ่งในจังหวัดสงขลา นอกจากเป็นวัดที่เก่าแก่แล้ว วัดนี้ยังเป็นศูนย์กลางการปกครองคณะสงฆ์ ศูนย์กลางการศึกษาพระปริยัติธรรม และเป็นจุดศูนย์รวมของพระภิกษุสามเณร เมือท่านได้ฟังหรือได้อ่านชื่อวัดแล้วหลายท่านตีความหมายไปในทำนองที่ไม่เป็นมงคลว่า “กำลังจะทอดทิ้งพระ หรือไม่เอาพระ” ซึ่งแสดงว่าคำนั้นไม่เป็นมงคลเอาเสียเลยแต่ความจริงแล้วหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ เพราะภายในวัดจะทิ้งพระมีปูชนียวัตถุที่สำคัญ คือพระเจดีย์ และพระพุทธไสยาสน์ อันเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนและวัดนี้มีภิกษุสามเณรมาอาศัยอยู่จำพรรษาจากทั่วสารทิศ ประชาชนก็มีศรัทธาบำรุงวัดและปฏิบัติพระภิกษุสามเณรเป็นประจำ ประจักษ์พยานเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า ชาวจะทิ้งพระไม่เคยทอดทิ้งพระเลย แต่เคารพนับถือพระเป็นปรกตินิสัย เมื่อวิเคราะห์ดูในแง่อักษรศาสตร์แล้ว คำว่า “จะทิ้งพระ” สันนิษฐานว่า น่าจะเพี้ยนกร่อนมาจากคำว่า “สทิงปุระ” ซึ่งมีความหมายว่า เมืองที่มีน้ำล้อมรอบเมืองสทิงปุระเป็นเมืองเดียวเดียวกับสทิงพาราณสี ซึ่งเป็นเมืองที่เก่าแก่ตั้งอยู่ทางด้านเหนือของวัดจะทิ้งพระ คือบริเวณโรงเรียนในเมืองปัจจุบันนี้

ในปี พ.ศ. 2467 สมัยเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ดำรงตำแหน่งอุปราชปักษ์ใต้ ท่านได้มาตรวจราชการ จึงพิจารณาเห็นว่า การคมนาคมไม่สะดวกจึงยกกิ่งอำเภอระโนดขึ้นเป็นอำเภอ และลดฐานะอำเภอปละท่าเป็นกิ่งอำเภอขึ้นอยู่กับอำเภอเมืองสงขลา แล้วเปลี่ยนชื่อจากปละท่าเป็นจะทิ้งพระ ส่วนสาเหตุที่ชื่ออำเภอปละท่าต้องเปลี่ยนมาเป็นจะทิ้งพระนั้นสันนิษฐานว่า คงจะยึดเอาคำปลุกใจของชาวสทิงพระเมื่อคราวเกิดกบฏที่สงขลาว่า “พวกเราจะทิ้งพระเสียแล้ว” หรือคำพูดของนางเหมชลา ซึ่งต่อว่าพระทันตกุมารผู้เป็นน้องว่า “น้องจะทิ้งพระเสียแล้วหรือ” คำพูดที่มาต่างกรรมต่างวาระกันนี้ เชื่อกันว่ากลายมาเป็นชื่อของอำเภอจะทิ้งพระ ชื่อวัดและชื่อหมู่บ้านก็เปลี่ยนเป็นวัดจะทิ้งพระ และบ้านจะทิ้งพระ อำเภอจะทิ้งพระไปด้วย ครั้นต่อมาในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 กระทรวงมหาดไทย จึงยกฐานะกิ่งอำเภอจะทิ้งพระขึ้นเป็นอำเภอจะทิ้งพระ และต่อมาอีก 14 ปี ได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่ออำเภอจะทิ้งพระเป็นอำเภอสทิงพระ เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2504 โดยถือเอาตามชื่อสทิงปุระในสมัยโบราณนั่นเอง ผู้มีความรู้ในเชิงประวัติศาสตร์ สันนิษฐานว่า “จะทิ้งพระ” คงเพี้ยนกร่อนมาจากคำว่า “สทิงปุระ”




สำหรับ “ วัดจะทิ้งพระ ” พระยาธรรมรังคัล(บางแห่งเรียกพระยาธรรมรังสรร) ร่วมกับพระครูอโนมทัสสีเป็นผู้ร่วมมือกันสร้าง เมื่อจุลศักราช 799 คำว่า จะทิ้งพระ ทรงพระราชวิจารณ์ว่า เพี้ยนกร่อนมาจาก “ จันทิพระ ” ตามชื่อวัดของนิกายมหายานในเกาะชวา ท่านผู้อ่านได้เห็นโฉมหน้าของวัดจะทิ้งพระแล้วว่าเป็นวัดที่เก่าแก่ ที่มีปูชนียวัตถุเป็นสักขีพยานอยู่จนถึงทุกวันนี้ คือ พระเจดีย์ 2 องค์ และพระพุทธไสยาสน์ สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นพร้อมๆกันท่านอาวาสที่บริหารการคณะสงฆ์ในวัดจะทิ้งพระ เท่าที่ค้นคว้าหามาได้มีรายนาม ดังนี้
1. พระครูอโนมทัสสี
2. พระครูวินัยธรรม
3. พระครูสุข
4. พระครูวิจารณ์ศีลคุณ
5. พระครูพุทธกิจจารักษ์
6. พระครูประสาทศีลพรต




ท่านเจ้าอาวาสวัดจะทิ้งพระเหล่านี้ได้มุ่มเทกำลังกายกำลังความคิดอย่างเต็มความสามารถ เพื่อสร้างสรรค์ความเจริญรุ่งเรืองแก่วัดและพระพุทธศาสนาด้านต่างๆ เท่าที่ค้นคว้าหลักฐานและผลงานมา เช่น
พระครูอโนมทัสสี เคยไปศึกษาดูงานการพระศาสนาที่เกาะลังกาท่านได้ร่วมมือกับพระยาธรรมรังคัล สร้างพระเจดีย์องค์ใหญ่ขึ้น เมื่อ จ.ศ.799 เรียกว่า “พระมหาธาตุ” โดยสร้างตามแบบสถาปัตยกรรมการก่อสร้างเจดีย์ของลังกา นิยมเรียกว่า เจดีย์ฐานสิบสอง ปัจจุบันเจดีย์นี้ยังคงตั้งอยู่ใจกลางวัด
ท่านพระครูวิจารณ์ศีลคุณ มีความสามารถหลายด้าน เช่น




- ด้านการก่อสร้างท่านได้สร้างกุฏิ โบสถ์ ศาลาการเปรียญ หอระฆัง วิหารพุทธไสยาสน์ และบูรณปฏิสังขรณ์พระนอนให้มีขนาดยาวและใหญ่กว่าเดิม
- ด้านกวีนิพนธ์ ท่านมีความสามารถในการประพันธ์บทกลอนเรื่องที่ท่านแต่งขึ้นมาเรื่องหนึ่งชื่อ “ ลุงสอนหลาน ” เป็นเรื่องไพเราะ ขบขัน และให้คติสอนใจ เรื่องจะกำหนดให้ลุงเตือนหลานให้ทำแต่เรื่องอบายมุขทั้งนั้น การสอนแบบนี้เรียกว่าหนามยอกเอาหนามบ่ง




ตัวอย่างภาษิตลุงสอนหลาน....
- ข้อขอไหว้ครู แรกนานหายหู ไม่รู้ครั้งไหน
เป็นครูผู้เฒ่า ไม่เข้ากับใคร แกดีเหลือใจ
พ้นที่คณนา
-กินแล้วแกนอน ไม่ทุกข์ไม่ร้อน ด้วยสิ่งใดหนา
เมื่อคราวอยู่วัด แกหัดวิชา หมากรุกสกา
โปไพ่หลายอย่าง
- เล่นบ้าคว้าว่าว ยามเย็นยามเช้า กินเหล้าไปพลาง
ฉัดกร้อต่อนก หลายหนกหลายอย่าง ขี้คร้านการห่าง
มันสิ้นเพียงครู

- ออกมาอยู่บ้าน วิชาขี้คร้าน กับการแกไม่โส้
เห็นคนทำการ แกพาลพาโล โกรธาว่าโม่ห์
ชิงโร้กว่าคน
- คนพวกนี้ ขี้ร้ายไม่ดี มิเห็นเป็นผล
ไม่ตามคำครู ไม่ดูเยี่ยงคน อย่าให้มันจน
ให้มันมั่งมี
... ฯลฯ




วัดจะทิ้งพระถือเป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองประจำอำเภอสะทิ้งพระอยู่ทางทิศเหนือของที่ว่าการอำเภอสทิงพระ เป็นวัดเก่าแก่โบราณมาก เล่าว่าเจ้าเมืองสร้างวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ.1482 โดยสมัยเจ้าเมืองชื่อ พระยากรงทองและได้สร้างพระมหาธาตุเจดีย์





คนสมัยก่อนมีเรื่องเล่าจากแนวคิดว่า ชื่อวัดจะทิ้งพระนี้ มีตำนานเรื่อง เจ้าหญิงเหมชาลาผู้พี่ และเจ้าชายธนกุมารผู้น้อง ล่องเรือหนีข้าศึกจากเมืองอินเดียตอนใต้ที่มาตีเมืองทันตะปุระซึ่งถูกข้าศึกตีแตก จึงพาผู้คนและนำพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าหลบหนีมาสู่เกาะลังกาก่อน และเดินทางต่อมาจนมาขึ้นบกที่เมืองสทิงพระ โดยนำพระบรมธาตุไปบรรจุพระเจดีย์ที่เมืองนครศรีธรรมราชได้ขึ้นบกที่หาดมหาราชเพื่อหาน้ำจืด และพักผ่อนที่วัดแห่งนี้ และลงเรือเดินทางต่อไป แต่ลืมพระธาตุเอาไว้เจ้าชายธนกุมารจึงถามเจ้าหญิงเหมชาลาผู้เก็บรักษาพระธาตุว่า “ น้องจะทิ้งพระ ” เสียแล้วหรือ เมื่อนึกได้ก็กลับมาเอาพระธาตุไป คำว่า “ จะทิ้งพระจึงกลายมาเป็นชื่อวัด และชื่อบ้านว่าวัดจะทิ้งพระ ” นี่คือตำนานของชื่อบ้านนามเมืองส่วนหนึ่ง

แต่อย่างไรก็ดี วัดจะทิ้งเป็นวัดโบราณ มีโบราณวัตถุโบราณสถานสำคัญที่ควรศึกษา คือ...


1. เจดีย์พระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นเจดีย์ก่ออิฐดินเผาและอิฐปะการังฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ย่อมุมไม้สิบสอง แต่ละด้านมีซุ้มพระ เป็นเจดีย์ทรงลังกา รูประฆังคว่ำหรือรูปโอ่งคว่ำ มีปลียอดแหลม อย่างเจดีย์พระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช แต่มีขนาดเล็กกว่า ทุกปีในวันเพ็ญเดือน 3 จะมีงานแห่ผ้าขึ้นห่มพระธาตุเจดีย์ ทอดผ้าป่ามาฆบูชา และแข่งขันมโนราห์กลางวัน เจดีย์มหาธาตุสูงจากฐานถึงยอด 20 เมตร ฐานกว้างด้านละ 17 เมตร เจดีย์นี้เป็นที่เคารพของคนทั่วไป และถือเป็นองค์พระแทนพระพุทธเจ้า





2. พระเชตุพนพุทธไสยาสน์(พ่อเฒ่านอน) เป็นพระนอนศักดิ์สิทธิ์อยู่ในวิหารพ่อเฒ่านอน ทางทิศใต้ของเจดีย์พระมหาธาตุ เป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ ก่อด้วยอิฐถือปูน ขนาดยาว 14 เมตร สูง 2 เมตร หันพระเศียรไปทางทิศตะวันออก อยู่ในวิหารหรือศาลาพ่อเฒ่านอนเป็นวิหารยาว 14.8 เมตร กว้าง 7 เมตร เข้าใจว่าวิหารนี้สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาต่อมาวิหารชำรุดลง พระครูวิจารณ์ศีลคุณ เจ้าอาวาสวัดจะทิ้งพระได้บูรณะวิหารพระพุทธไสยาสน์นี้ขึ้น ตรงกับสมัยรัชการที่ 5 หน้าบันมีหลายปูนปั้นสวยงาม และต่อมาหน้าบันพังทลายลงเสียหายอีก ในปี พ.ศ.2520 ได้มีการบูรณะวิหารพ่อเฒ่านอนขึ้นใหม่อีก ดังที่เห็นปัจจุบัน

พระพุทธไสยาสน์ หรือพ่อเฒ่านอน ถือเป็นพระนอนที่ศักดิ์สิทธิ์ของวัดจะทิ้งพระ และประชาชนทั่วไปมีการมากราบไหว้ขอพร ให้ได้ในสิ่งที่ปรารถนา ปรากฎว่ามีนักเรียนหลายคนมาบนบานให้สอบได้เรียนจบการศึกษาสูงๆ และได้หน้าที่การงานที่ดี เป็นผลสำเร็จหลายราย มาปิดทองหรือซื้อผ้าห่มพ่อเฒ่านอนและบริจาคทรัพย์ไว้บูรณะวัดมิได้ขาด



ภายในวิหารพ่อเฒ่านอนยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติ เรื่องเปรตที่เคยชั่วตอนมีชีวิต ตายแล้วตกนรกในกระทะทองแดงที่บานประตูทั้ง 2 ด้าน มีรูปนายทวารบาล 4 รูป เป็นรูปเขี้ยวกาง หรือรูปยักษ์แบบจีน 4 รูปสวยงามมาก


3. หอระฆัง เป็นหอสำหรับแขวนระฆังใบใหญ่ ที่สร้างด้วยอิฐถือปูนสร้างในสมัยรัชการที่ 5 มีขนาดสูง 9 เมตร ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 3 เมตร ที่ฝาผนังฐานหอระฆังมีรูปปูนปั้นเป็นรูปหนังตลุง อันเป็นศิลปะพื้นบ้านของเมืองสทิงพระ


4.ภายในบริเวณวัดมีกุฏิวิหาร พระอุโบสถ และอาคารอื่น ๆ มากมาย ภายในวัดมีต้นไม้ร่มรื่น เช่น ต้นประดู่ ต้นอินทนิล และยังมีกำแพงวัดที่ก่อล้อมรอบมาตั้งแต่สมัยพระครูวิจารณ์ศีลคุณ และท่านได้แต่งวรรณกรรมเรื่อง” ลุงสอนหลาน ” เป็นบทกลอนที่น่าอ่านยิ่ง





ประโยชน์ที่ได้รับ :
1. ได้ทราบประวัติความเป็นมาของวัดจะทิ้งพระ
2. ได้ทราบเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของ อ.สทิงพระ

วิธีการนำเสนอ : นำเสนอด้วยการจัดพิมพ์ลงใน
http://blogger.com

แหล่งอ้างอิง : ท่านรองเจ้าอาวาสวัดจะทิ้งพระ



ความรู้สึกที่มีต่อการทำโครงงาน : การที่ได้ไปทำโครงงานนี้ เป็นอะไรที่ลำบากมาก เพราะระยะทางไกลพอสมควรเดินทางกันเป็นชั่วโมง พวกเราไปด้วยรถโดยสาร เมื่อไปถึงก็เที่ยงพอดีอากาศร้อนมาก แต่พอบ่ายๆฝนก็ฝนลงมาหนักมากเหมือนกัน ซึ่งเป็นทำงานที่ลำบากแต่พวกเราก็ทำงานชิ้นนี้จนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เพราะมีท่านรองเจ้าอาวาสวัดจะทิ้งพระ ได้ให้ข้อมูลของวัดจะทิ้งพระทั้งหมด ทำให้การทำงานง่ายขึ้น ค่ะ



หมายเหตุ :: หนูทำไม่เป็นแล้วคร๊า ~ แค่นี้ก่อนนะค่ะอาจารย์ ! ^^

3 ความคิดเห็น:

  1. พี่หย๊ะทามสวย

    ชิชะ อจฉา

    น้องทามงานครบทุกชิ้นแร้วนะ
    ^^

    ตอบลบ
  2. ทำ ชอบ ถ่าย คนเดียว ! ...

    ตอบลบ
  3. อรร ร !

    สวยชิมิ เขิลจังเลย ย

    55

    ดีแล้วส่งๆซะบ้าง ง เก่งจริงน้องใครว๊ ?

    คิคิ > <

    ตอบลบ