วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

สถานีแม่และเด็ก

https://www.facebook.com/ibabystation/

จำหน่ายอุปกรณ์ของใช้แม่และเด็ก
ผ้าอ้อมมัสลินคอตตอน
ผ้าอ้อมมัสลินแบมบู
หมอนเมมโมรี่
หมอนกันสะดุ้ง

วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

วัดจะทิ้งพระ !!! !

โครงงาน..วัดจะทิ้งพระ
จัดทำโดย
พิชญาภา วงศ์หมัดทอง เลขที่ 8
จันทราพร แซ่ลี้ เลขที่ 20
ตรีรัตน์ เรืองศรี เลขที่ 22
นุชจรี บินเด็น เลขที่ 25
สุพัตรา คณะพันธ์ เลขที่ 26
วนิดา ชูปัญญา เลขที่ 28
เสนอ
อาจารย์การุณย์ สุวรรณรักษา
ความเป็นมาของการทำโครงงาน : เนื่องจากการเรียนในวิชาประวัติศาสตร์ ได้มอบหมายให้มีการศึกษาค้นคว้าสถานที่ที่เป็นประวัติศาสตร์ของจังหวัดสงขลา กลุ่มของข้าพเจ้าจึงได้พิจารณากันว่าจะศึกษาวัดจะทิ้งพระ ซึ่งอยู่อำเภอ สทิ้งพระ จังหวัดสงขลา เนื่องด้วยวัดจะทิ้งพระเป็นวัดที่มีประวัติน่าสนใจ มีมายาวนาน และด้วยมีสมาชิกในกลุ่มของข้าพเจ้ามีภูมิลำเนาในพื้นที่ดังกล่าว จึงทำให้กลุ่มของข้าพเจ้าเลือกศึกษาวัดจะทิ้งพระ.. .

วัตถุประสงค์ของโครงงาน :
1. เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของวัดจะทิ้งพระ
2. เพื่อให้เป็นแหล่งข้อมูลของผู้ที่ต้องการศึกษา

แผนผังโครงงานแบบตาราง
13 ก.ค. 53 ปรึกษาหารือเลือกสถานที่ (อาคารพวงทองฯ (411)) สมาชิกทุกคนในกลุ่ม
17 ก.ค. 53 ไปวัดจะทิ้งพระเพื่อหาข้อมูล และถ่ายรูป (วัดจะทิ้งพระ) สมาชิกทุกคนในกลุ่ม
สิงหาคม 53 รวบรวมข้อมูล และจัดพิมพ์ (บ้าน) พิชญาภา วงศ์หมัดทอง
7 ก.ย. 53 นำเสนอลง blog ( บ้าน ) พิชญาภา วงศ์หมัดทอง

ขั้นตอนการดำเนินการ :
1. ประชุมเลือกสถานที่ที่จะศึกษาค้นคว้า
2. ศึกษาหาข้อมูลวัดจะทิ้งพระ
3. ไปวัดจะทิ้งพระ เพื่อสอบถามหาข้อมูล และถ่ายรูป
4. เรียบเรียงข้อมูล และจัดพิมพ์
5. นำเสนอโครงงาน


ผลการศึกษา :


วัดจะทิ้งพระ ตั้งอยู่ริมถนนสายหัวเขาแดง-ระโนด ในท้องที่หมู่ที่ 4 ตำบลจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา วัดนี้เป็นวัดที่เก่าแก่วัดหนึ่งในจังหวัดสงขลา นอกจากเป็นวัดที่เก่าแก่แล้ว วัดนี้ยังเป็นศูนย์กลางการปกครองคณะสงฆ์ ศูนย์กลางการศึกษาพระปริยัติธรรม และเป็นจุดศูนย์รวมของพระภิกษุสามเณร เมือท่านได้ฟังหรือได้อ่านชื่อวัดแล้วหลายท่านตีความหมายไปในทำนองที่ไม่เป็นมงคลว่า “กำลังจะทอดทิ้งพระ หรือไม่เอาพระ” ซึ่งแสดงว่าคำนั้นไม่เป็นมงคลเอาเสียเลยแต่ความจริงแล้วหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ เพราะภายในวัดจะทิ้งพระมีปูชนียวัตถุที่สำคัญ คือพระเจดีย์ และพระพุทธไสยาสน์ อันเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนและวัดนี้มีภิกษุสามเณรมาอาศัยอยู่จำพรรษาจากทั่วสารทิศ ประชาชนก็มีศรัทธาบำรุงวัดและปฏิบัติพระภิกษุสามเณรเป็นประจำ ประจักษ์พยานเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า ชาวจะทิ้งพระไม่เคยทอดทิ้งพระเลย แต่เคารพนับถือพระเป็นปรกตินิสัย เมื่อวิเคราะห์ดูในแง่อักษรศาสตร์แล้ว คำว่า “จะทิ้งพระ” สันนิษฐานว่า น่าจะเพี้ยนกร่อนมาจากคำว่า “สทิงปุระ” ซึ่งมีความหมายว่า เมืองที่มีน้ำล้อมรอบเมืองสทิงปุระเป็นเมืองเดียวเดียวกับสทิงพาราณสี ซึ่งเป็นเมืองที่เก่าแก่ตั้งอยู่ทางด้านเหนือของวัดจะทิ้งพระ คือบริเวณโรงเรียนในเมืองปัจจุบันนี้

ในปี พ.ศ. 2467 สมัยเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ดำรงตำแหน่งอุปราชปักษ์ใต้ ท่านได้มาตรวจราชการ จึงพิจารณาเห็นว่า การคมนาคมไม่สะดวกจึงยกกิ่งอำเภอระโนดขึ้นเป็นอำเภอ และลดฐานะอำเภอปละท่าเป็นกิ่งอำเภอขึ้นอยู่กับอำเภอเมืองสงขลา แล้วเปลี่ยนชื่อจากปละท่าเป็นจะทิ้งพระ ส่วนสาเหตุที่ชื่ออำเภอปละท่าต้องเปลี่ยนมาเป็นจะทิ้งพระนั้นสันนิษฐานว่า คงจะยึดเอาคำปลุกใจของชาวสทิงพระเมื่อคราวเกิดกบฏที่สงขลาว่า “พวกเราจะทิ้งพระเสียแล้ว” หรือคำพูดของนางเหมชลา ซึ่งต่อว่าพระทันตกุมารผู้เป็นน้องว่า “น้องจะทิ้งพระเสียแล้วหรือ” คำพูดที่มาต่างกรรมต่างวาระกันนี้ เชื่อกันว่ากลายมาเป็นชื่อของอำเภอจะทิ้งพระ ชื่อวัดและชื่อหมู่บ้านก็เปลี่ยนเป็นวัดจะทิ้งพระ และบ้านจะทิ้งพระ อำเภอจะทิ้งพระไปด้วย ครั้นต่อมาในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 กระทรวงมหาดไทย จึงยกฐานะกิ่งอำเภอจะทิ้งพระขึ้นเป็นอำเภอจะทิ้งพระ และต่อมาอีก 14 ปี ได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่ออำเภอจะทิ้งพระเป็นอำเภอสทิงพระ เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2504 โดยถือเอาตามชื่อสทิงปุระในสมัยโบราณนั่นเอง ผู้มีความรู้ในเชิงประวัติศาสตร์ สันนิษฐานว่า “จะทิ้งพระ” คงเพี้ยนกร่อนมาจากคำว่า “สทิงปุระ”




สำหรับ “ วัดจะทิ้งพระ ” พระยาธรรมรังคัล(บางแห่งเรียกพระยาธรรมรังสรร) ร่วมกับพระครูอโนมทัสสีเป็นผู้ร่วมมือกันสร้าง เมื่อจุลศักราช 799 คำว่า จะทิ้งพระ ทรงพระราชวิจารณ์ว่า เพี้ยนกร่อนมาจาก “ จันทิพระ ” ตามชื่อวัดของนิกายมหายานในเกาะชวา ท่านผู้อ่านได้เห็นโฉมหน้าของวัดจะทิ้งพระแล้วว่าเป็นวัดที่เก่าแก่ ที่มีปูชนียวัตถุเป็นสักขีพยานอยู่จนถึงทุกวันนี้ คือ พระเจดีย์ 2 องค์ และพระพุทธไสยาสน์ สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นพร้อมๆกันท่านอาวาสที่บริหารการคณะสงฆ์ในวัดจะทิ้งพระ เท่าที่ค้นคว้าหามาได้มีรายนาม ดังนี้
1. พระครูอโนมทัสสี
2. พระครูวินัยธรรม
3. พระครูสุข
4. พระครูวิจารณ์ศีลคุณ
5. พระครูพุทธกิจจารักษ์
6. พระครูประสาทศีลพรต




ท่านเจ้าอาวาสวัดจะทิ้งพระเหล่านี้ได้มุ่มเทกำลังกายกำลังความคิดอย่างเต็มความสามารถ เพื่อสร้างสรรค์ความเจริญรุ่งเรืองแก่วัดและพระพุทธศาสนาด้านต่างๆ เท่าที่ค้นคว้าหลักฐานและผลงานมา เช่น
พระครูอโนมทัสสี เคยไปศึกษาดูงานการพระศาสนาที่เกาะลังกาท่านได้ร่วมมือกับพระยาธรรมรังคัล สร้างพระเจดีย์องค์ใหญ่ขึ้น เมื่อ จ.ศ.799 เรียกว่า “พระมหาธาตุ” โดยสร้างตามแบบสถาปัตยกรรมการก่อสร้างเจดีย์ของลังกา นิยมเรียกว่า เจดีย์ฐานสิบสอง ปัจจุบันเจดีย์นี้ยังคงตั้งอยู่ใจกลางวัด
ท่านพระครูวิจารณ์ศีลคุณ มีความสามารถหลายด้าน เช่น




- ด้านการก่อสร้างท่านได้สร้างกุฏิ โบสถ์ ศาลาการเปรียญ หอระฆัง วิหารพุทธไสยาสน์ และบูรณปฏิสังขรณ์พระนอนให้มีขนาดยาวและใหญ่กว่าเดิม
- ด้านกวีนิพนธ์ ท่านมีความสามารถในการประพันธ์บทกลอนเรื่องที่ท่านแต่งขึ้นมาเรื่องหนึ่งชื่อ “ ลุงสอนหลาน ” เป็นเรื่องไพเราะ ขบขัน และให้คติสอนใจ เรื่องจะกำหนดให้ลุงเตือนหลานให้ทำแต่เรื่องอบายมุขทั้งนั้น การสอนแบบนี้เรียกว่าหนามยอกเอาหนามบ่ง




ตัวอย่างภาษิตลุงสอนหลาน....
- ข้อขอไหว้ครู แรกนานหายหู ไม่รู้ครั้งไหน
เป็นครูผู้เฒ่า ไม่เข้ากับใคร แกดีเหลือใจ
พ้นที่คณนา
-กินแล้วแกนอน ไม่ทุกข์ไม่ร้อน ด้วยสิ่งใดหนา
เมื่อคราวอยู่วัด แกหัดวิชา หมากรุกสกา
โปไพ่หลายอย่าง
- เล่นบ้าคว้าว่าว ยามเย็นยามเช้า กินเหล้าไปพลาง
ฉัดกร้อต่อนก หลายหนกหลายอย่าง ขี้คร้านการห่าง
มันสิ้นเพียงครู

- ออกมาอยู่บ้าน วิชาขี้คร้าน กับการแกไม่โส้
เห็นคนทำการ แกพาลพาโล โกรธาว่าโม่ห์
ชิงโร้กว่าคน
- คนพวกนี้ ขี้ร้ายไม่ดี มิเห็นเป็นผล
ไม่ตามคำครู ไม่ดูเยี่ยงคน อย่าให้มันจน
ให้มันมั่งมี
... ฯลฯ




วัดจะทิ้งพระถือเป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองประจำอำเภอสะทิ้งพระอยู่ทางทิศเหนือของที่ว่าการอำเภอสทิงพระ เป็นวัดเก่าแก่โบราณมาก เล่าว่าเจ้าเมืองสร้างวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ.1482 โดยสมัยเจ้าเมืองชื่อ พระยากรงทองและได้สร้างพระมหาธาตุเจดีย์





คนสมัยก่อนมีเรื่องเล่าจากแนวคิดว่า ชื่อวัดจะทิ้งพระนี้ มีตำนานเรื่อง เจ้าหญิงเหมชาลาผู้พี่ และเจ้าชายธนกุมารผู้น้อง ล่องเรือหนีข้าศึกจากเมืองอินเดียตอนใต้ที่มาตีเมืองทันตะปุระซึ่งถูกข้าศึกตีแตก จึงพาผู้คนและนำพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าหลบหนีมาสู่เกาะลังกาก่อน และเดินทางต่อมาจนมาขึ้นบกที่เมืองสทิงพระ โดยนำพระบรมธาตุไปบรรจุพระเจดีย์ที่เมืองนครศรีธรรมราชได้ขึ้นบกที่หาดมหาราชเพื่อหาน้ำจืด และพักผ่อนที่วัดแห่งนี้ และลงเรือเดินทางต่อไป แต่ลืมพระธาตุเอาไว้เจ้าชายธนกุมารจึงถามเจ้าหญิงเหมชาลาผู้เก็บรักษาพระธาตุว่า “ น้องจะทิ้งพระ ” เสียแล้วหรือ เมื่อนึกได้ก็กลับมาเอาพระธาตุไป คำว่า “ จะทิ้งพระจึงกลายมาเป็นชื่อวัด และชื่อบ้านว่าวัดจะทิ้งพระ ” นี่คือตำนานของชื่อบ้านนามเมืองส่วนหนึ่ง

แต่อย่างไรก็ดี วัดจะทิ้งเป็นวัดโบราณ มีโบราณวัตถุโบราณสถานสำคัญที่ควรศึกษา คือ...


1. เจดีย์พระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นเจดีย์ก่ออิฐดินเผาและอิฐปะการังฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ย่อมุมไม้สิบสอง แต่ละด้านมีซุ้มพระ เป็นเจดีย์ทรงลังกา รูประฆังคว่ำหรือรูปโอ่งคว่ำ มีปลียอดแหลม อย่างเจดีย์พระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช แต่มีขนาดเล็กกว่า ทุกปีในวันเพ็ญเดือน 3 จะมีงานแห่ผ้าขึ้นห่มพระธาตุเจดีย์ ทอดผ้าป่ามาฆบูชา และแข่งขันมโนราห์กลางวัน เจดีย์มหาธาตุสูงจากฐานถึงยอด 20 เมตร ฐานกว้างด้านละ 17 เมตร เจดีย์นี้เป็นที่เคารพของคนทั่วไป และถือเป็นองค์พระแทนพระพุทธเจ้า





2. พระเชตุพนพุทธไสยาสน์(พ่อเฒ่านอน) เป็นพระนอนศักดิ์สิทธิ์อยู่ในวิหารพ่อเฒ่านอน ทางทิศใต้ของเจดีย์พระมหาธาตุ เป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ ก่อด้วยอิฐถือปูน ขนาดยาว 14 เมตร สูง 2 เมตร หันพระเศียรไปทางทิศตะวันออก อยู่ในวิหารหรือศาลาพ่อเฒ่านอนเป็นวิหารยาว 14.8 เมตร กว้าง 7 เมตร เข้าใจว่าวิหารนี้สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาต่อมาวิหารชำรุดลง พระครูวิจารณ์ศีลคุณ เจ้าอาวาสวัดจะทิ้งพระได้บูรณะวิหารพระพุทธไสยาสน์นี้ขึ้น ตรงกับสมัยรัชการที่ 5 หน้าบันมีหลายปูนปั้นสวยงาม และต่อมาหน้าบันพังทลายลงเสียหายอีก ในปี พ.ศ.2520 ได้มีการบูรณะวิหารพ่อเฒ่านอนขึ้นใหม่อีก ดังที่เห็นปัจจุบัน

พระพุทธไสยาสน์ หรือพ่อเฒ่านอน ถือเป็นพระนอนที่ศักดิ์สิทธิ์ของวัดจะทิ้งพระ และประชาชนทั่วไปมีการมากราบไหว้ขอพร ให้ได้ในสิ่งที่ปรารถนา ปรากฎว่ามีนักเรียนหลายคนมาบนบานให้สอบได้เรียนจบการศึกษาสูงๆ และได้หน้าที่การงานที่ดี เป็นผลสำเร็จหลายราย มาปิดทองหรือซื้อผ้าห่มพ่อเฒ่านอนและบริจาคทรัพย์ไว้บูรณะวัดมิได้ขาด



ภายในวิหารพ่อเฒ่านอนยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติ เรื่องเปรตที่เคยชั่วตอนมีชีวิต ตายแล้วตกนรกในกระทะทองแดงที่บานประตูทั้ง 2 ด้าน มีรูปนายทวารบาล 4 รูป เป็นรูปเขี้ยวกาง หรือรูปยักษ์แบบจีน 4 รูปสวยงามมาก


3. หอระฆัง เป็นหอสำหรับแขวนระฆังใบใหญ่ ที่สร้างด้วยอิฐถือปูนสร้างในสมัยรัชการที่ 5 มีขนาดสูง 9 เมตร ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 3 เมตร ที่ฝาผนังฐานหอระฆังมีรูปปูนปั้นเป็นรูปหนังตลุง อันเป็นศิลปะพื้นบ้านของเมืองสทิงพระ


4.ภายในบริเวณวัดมีกุฏิวิหาร พระอุโบสถ และอาคารอื่น ๆ มากมาย ภายในวัดมีต้นไม้ร่มรื่น เช่น ต้นประดู่ ต้นอินทนิล และยังมีกำแพงวัดที่ก่อล้อมรอบมาตั้งแต่สมัยพระครูวิจารณ์ศีลคุณ และท่านได้แต่งวรรณกรรมเรื่อง” ลุงสอนหลาน ” เป็นบทกลอนที่น่าอ่านยิ่ง





ประโยชน์ที่ได้รับ :
1. ได้ทราบประวัติความเป็นมาของวัดจะทิ้งพระ
2. ได้ทราบเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของ อ.สทิงพระ

วิธีการนำเสนอ : นำเสนอด้วยการจัดพิมพ์ลงใน
http://blogger.com

แหล่งอ้างอิง : ท่านรองเจ้าอาวาสวัดจะทิ้งพระ



ความรู้สึกที่มีต่อการทำโครงงาน : การที่ได้ไปทำโครงงานนี้ เป็นอะไรที่ลำบากมาก เพราะระยะทางไกลพอสมควรเดินทางกันเป็นชั่วโมง พวกเราไปด้วยรถโดยสาร เมื่อไปถึงก็เที่ยงพอดีอากาศร้อนมาก แต่พอบ่ายๆฝนก็ฝนลงมาหนักมากเหมือนกัน ซึ่งเป็นทำงานที่ลำบากแต่พวกเราก็ทำงานชิ้นนี้จนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เพราะมีท่านรองเจ้าอาวาสวัดจะทิ้งพระ ได้ให้ข้อมูลของวัดจะทิ้งพระทั้งหมด ทำให้การทำงานง่ายขึ้น ค่ะ



หมายเหตุ :: หนูทำไม่เป็นแล้วคร๊า ~ แค่นี้ก่อนนะค่ะอาจารย์ ! ^^

พัฒนาการชาติไทยสมัยรัชกาลที่ 4-7



หัวเลี้ยวหัวต่อของประวัติศาสตร์ไทยตอนนี้ อยู่ที่การทำ สนธิสัญญาเบาริง ในสมัยรัชการที่ 4 ที่มาและสาระสำคัญของการทำสนธิสัญญาเบาริง มีดังนี้

1. ในสมัยรัชการที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนแปลงนโยบาย ต่างประเทศ มาเป็นการคบค้ากับชาวตะวันตก เพื่อความอยู่รอดของชาติ เนื่องจากทรงตระหนักถึงภัยจากลัทธิจักรวรรดินิยม ซึ่งกำลังคุกคามประเทศต่าง ๆ อยู่ในขณะนั้น

2. จุดเริ่มของการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศ คือ การทำสนธิสัญญาเบาริง กับอังกฤษ ใน พ.ศ. 2398 โดยพระนางเจ้าวิกตอเรีย ได้แต่งตั้งให้ เซอร์ จอห์น เบาริง เป็นราชทูตเข้ามาเจรจา

3. สาระสำคัญของสนธิสัญเบาริง มีดังนี้
o อังกฤษขอตั้งสถานกงสุลในประเทศไทย
o คนอังกฤษมีสิทธิเช่าที่ดินในประเทศไทยได้
o คนอังกฤษสามารถสร้างวัด และเผยแพร่คริสต์ศาสนาได้
o เก็บภาษีขาเข้าได้ไม่เกินร้อยละ 3
o พ่อค้าอังกฤษและพ่อค้าไทยมีสิทธิค้าขายกันได้โดยเสรี
o สินค้าต้องห้าม ได้แก่ ข้าว ปลา เกลือ
o ถ้าไทยทำสนธิสัญญากับประเทศอื่น ๆ ที่มีผลประโยชน์เหนือประเทศ อังกฤษ จะต้องทำให้อังกฤษด้วย
o สนธิสัญญานี้ จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้ จนกว่าจะใช้แล้ว 10 ปี และในการแก้ไข ต้องยินยอมด้วยกันทั้งสองฝ่าย และ ต้องบอกล่วงหน้า 1 ปี

4. ผลของสนธิสัญญาเบาริง

o ผลดี
1. รอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ
2. การค้าขยายตัวมากขึ้น เปลี่ยนแปลงการค้าเป็นแบบเสรี
3. อารยธรรมตะวันตก เข้ามาแพร่หลาย สามารถนำมาปรับปรุงบ้านเมือง ให้เจริญก้าวหน้ามาขึ้น

o ผลเสีย
1. ไทยเสียสิทธิทางการศาลให้อังกฤษ และคนในบังคับอังกฤษ
2. อังกฤษ เป็นชาติที่ได้รับสิทธิพิเศษหลายอย่าง
3. อังกฤษ เป็นฝ่ายได้เปรียบ จึงไม่ยอมทำการแก้ไขผลจากการทำสนธิสัญญาเบาริง ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทำให้สภาพสังคมไทย เปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อนำประเทศให้เจริญก้าวหน้า ตามแบบอารยธรรมตะวันตก การเปลี่ยนแปลง ในด้านต่าง ๆ มีดังนี้

ด้านการปกครอง


ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงแก้ไขเปลี่ยนแปลงประเพณีบางอย่าง เพื่อให้ราษฎร มีโอกาสใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์ คือ เปิดโอกาสให้ราษฎร เข้าเฝ้าได้โดยสะดวก ให้ราษฎรเข้าเฝ้าถวายฎีการ้องทุกข์ได้ ในขณะที่ทรงเสด็จพระราชดำเนิน
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการปฏิรูปการปกครอง ครั้งสำคัญ โดยแบ่งเป็น ระยะ คือ การปรับปรุงในระยะแรก ให้ตั้งสภา 2 สภา คือ สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) และ สภาที่ปรึกษาในพระองค์ (Privy Council) กับการปรับปรุงการปกครอง ในระยะหลัง (พ.ศ. 2435) ซึ่งนับว่า เป็นการปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่ โดยมีลักษณะ คือ การปกครองส่วนกลาง โปรดให้ยกเลิกการปกครอง แบบจตุสดมภ์ และ จัดแบ่งหน่วยราชการเป็นกรมต่าง ๆ 12 กรม (กะรทรวง) มีเสนาบดีเป็นเจ้ากระทรวง การปกครองส่วนภูมิภาค ทรงยกเลิก การจัดหัวเมืองที่แบ่งเป็นเมืองชั้นเอก โท ตรี และจัตวา เปลี่ยนการปกครองเป็น เทศาภิบาล ทรงโปรดให้รวมเมืองหลายเมืองเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาล เป็นผู้ปกครอง ขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย กับทรงแบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคเป็นจังหวัด (เมือง) อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน และการปกครองส่วนท้องถิ่น เริ่มจัดการทดลองแบบ สุขาภิบาลขึ้นเป็นครั้งแรกด้านเศรษฐกิจภายหลังการทำสนธิสัญญาเบาริงแล้ว การค้าของไทยเจริญก้าวหน้าขึ้น มาก ทำให้มีการปรับปรุงด้านเศรษฐกิจ เช่น ในรัชกาลที่ 4 ทรงเปลี่ยนการใช้เงินพดด้วงมาเป็นเงินเหรียญ และขุดคลอง ตัดถนนเพิ่มขึ้นหลายสาย ในสมัยรัชกาลที่ 5 เปลี่ยนมาตราเงินไทยมาใช้ระบบทศนิยม ใช้ทองคำเป็นมาตรฐานเงินตราแทนเงิน ให้ใช้เหรียญบาท สลึง และเหรียญสตางค์แทนเงินแบบเดิม มีการจัดตั้งธนาคารของเอกชนขึ้นเป็นครั้งแรก คือ แบางก์สยามกัมมาจล (ปัจจุบัน คือ ธนาคารไทยพาณิชย์)
ในสมัยรัชกาลที่ 6 โปรดให้ตั้งคลังออมสินขึ้น (ปัจจุบันคือ ธนาคารออมสิน)


ด้านวัฒนธรรม

ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงประกาศให้ข้าราชการสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้า ทรงให้เสรีภาพประชาชน ในการนับถือศาสนาและประกอบอาชีพ โปรดให้สตรีได้ยกฐานให้สูงขึ้น
ในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการสวมเสื้อราชปะแตก และสวมหมวกอย่างยุโรป ให้ข้าราชการทหารแต่งเครื่องแบบ ตามแบบตะวันตก โปรดให้ผู้ชายในราชสำนัก ไว้ผมทรงมหาดไทย เปลี่ยนมาไว้ผมตัดยาวทั้งศีรษะแบบฝรั่ง โปรดให้ผู้หญิงเลิกไว้ผมปีก ให้ไว้ผมตัดยาว ที่เรียกว่า "ทรงดอกกระทุ่ม" ทรงแก้ไขประเพณีการสืบสันตติวงศ์ โดยยกเลิกตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล แล้วโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ขึ้น ทรงเลิกประเพณีหมอบคลานเข้าเฝ้า และให้ยืนเข้าเฝ้าแทน ยกเลิกการโกนผม เมื่อพระมหากษัตริย์สวรรคต ยกเลิกการไต่สวนคดีแบบจารีตนครบาล และที่สำคัญที่สุด ที่พระองค์ทรงได้พระราชสมัญญานาม ว่า "พระปิยมหาราช" ซึ่งแปลว่า มหาราชที่ทรงเป็นที่รักของประชาชน คือการยกเลิกระบบไพร่ และระบบทาส ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงประกาศใช้พระราชบัญญัตินามกสุล โปรดให้ใช้พุทธศักราช (พ.ศ.) เป็นศักราชทางราชการ แทนรัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) เปลี่ยนแปลงการนับเวลาทางราชการ ให้สอดคล้องกับสากลนิยม โปรดให้กำหนดคำนำหน้าชื่อเด็กหญิง เด็กชาย นางสาว และนาง เปลียนแปลงธงประจำชาติ จากธงรูปช้างเผือก มาเป็นธงไตรรงค์ ตรากฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ ตามแบบประเทศยุโรปสภาพสังคม การเลิกทาสในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงดำริว่า การที่ประเทศไทยมีชนชั้นทาสมากเท่ากับเป็นการเสียเศรษฐกิจของชาติ และทำให้ต่างชาติดูถูกและเห็นว่าประเทศไทยป่าเถื่อนด้อยความเจริญ ซึ่งมีผลทำให้ประเทศมหาอำนาจต่างๆ คิดจะเข้าครอบครองไทย โดยอ้างว่า เพื่อช่วยพัฒนาประเทศไทยให้ทัดเทียมประเทศอื่นๆ ที่เจริญแล้วทั้งหลายดังนั้น ใน พ.ศ.2417 พระองค์จึงทรงเริ่มออกพระราชบัญญัติพิกัดกระเษียรอายุลูกทาสลูกไทขึ้น โดยกำหนดค่าตัวทาสอายุ 7-8 ปี มีค่าตัวสูงสุด 12-14 ตำลึง แล้วลดลงเรื่อยๆ เมื่อมีอายุ 21 ปี ค่าตัวจะเหลือเพียง 3 บาท ซึ่งทำให้ทาสมีโอกาสไถ่ตัวเป็นไทได้มากและใน พ.ศ.2420 พระองค์ทรงบริจาคเงินจำนวนหนึ่งเพื่อไถ่ตัวทาสที่อยู่กับเจ้านายมาครบ 25 ปี จำนวน 45 คน พ.ศ.2443 ทรงออกกฎหมายให้ทาสสินไถ่อายุครบ 60 ปี พ้นจากการเป็นทาสและห้ามขายตัวเป็นทาสอีก พ.ศ.2448 ออกพระราชบัญญัติทาส ร.ศ.124 บังคับทั่วประเทศ ห้ามมีการซื้อทาสต่อไป ให้ลดค่าตัวลงเดือนละ 4 บาท จนครบจำนวนเงิน และให้บรรดาทาสเป็นไททั้งหมด
การเลิกทาสของพระองค์ประสบความสำเร็จอย่างดี เป็นเพราะพระปรีชาญาณและพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ทรงใช้ทางสายกลาง ค่อยๆดำเนินงานไปทีละขั้นตอน ทำให้ไม่เกิดเหตุการณ์รุนแรงดังเช่นประเทศต่างๆ ที่เคยประสบมา

วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วิธีการทางประวัติศาสตร์


ในการสืบค้น ค้นคว้าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ มีอยู่หลายวิธี เช่น จากหลักฐานทางวัตถุที่ขุดค้นพบ หลักฐานที่เป็นการบันทึกลายลักษณ์อักษร หลักฐานจากคำบอกเล่า ซึ่งการรวบรวมเรื่องราวต่างๆทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ เรียกว่า วิธีการทางประวัติศาสตร์
วิธีการทางประวัติศาสตร์ คือ การรวบรวม พิจารณาไตร่ตรอง วิเคราะห์และตีความจากหลักฐานแล้วนำมาเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ เพื่ออธิบายเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในอดีตว่าเหตุใดจึงเกิดขึ้น หรือเหตุการณ์ในอดีตนั้นได้เกิดและคลี่คลายอย่างไร ซึ่งเป็นความมุ่งหมายที่สำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์

ความสำคัญของวิธีการทางประวัติศาสตร์

สำหรับการศึกษาประวัติศาสตร์นั้น มีปัญหาที่สำคัญอยู่ประการหนึ่ง คือ อดีตที่มีการฟื้นหรือจำลองขึ้นมาใหม่นั้น มีความถูกต้องสมบูรณ์และเชื่อถือได้เพียงใดรวมทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษรที่นำมาใช้เป็นข้อมูลนั้น มีความสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด เพราะเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์มีอยู่มากมายเกินกว่าที่จะศึกษาหรือจดจำได้หมด แต่หลักฐานที่ใช้เป็นข้อมูลอาจมีเพียงบางส่วน
ดังนั้น วิธีการทางประวัติศาสตร์จึงมีความสำคัญเพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ หรือผู้ฝึกฝนทางประวัติศาสตร์จะได้นำไปใช้ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง ไม่ลำเอียง และเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ

ขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์


ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย


เป็นขั้นตอนแรก นักประวัติศาสตร์ต้องมีจุดประสงค์ชัดเจนว่าจะศึกษาอะไร อดีตส่วนไหน สมัยอะไร และเพราะเหตุใด เป็นการตั้งคำถามที่ต้องการศึกษา นักประวัติศาสตร์ต้องอาศัยการอ่าน การสังเกต และควรต้องมีความรู้กว้างๆ ทางประวัติศาสตร์ในเรื่องนั้นๆมาก่อนบ้าง ซึ่งคำถามหลักที่นักประวัติศาสตร์ควรคำนึงอยู่ตลอดเวลาก็คือทำไมและเกิดขึ้นอย่างไร


ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ให้ข้อมูล มีทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร มีทั้งที่เป็นหลักฐานชั้นต้น(ปฐมภูมิ) และหลักฐานชั้นรอง(ทุติยภูมิ)
การรวบรวมข้อมูลนั้น หลักฐานชั้นต้นมีความสำคัญ และความน่าเชื่อถือมากกว่าหลักฐานชั้นรอง แต่หลักฐานชั้นรองอธิบายเรื่องราวให้เข้าใจได้ง่ายกว่าหลักฐานชั้นรอง
ในการรวบรวมข้อมูลประเภทต่างๆดังกล่าวข้างต้น ควรเริ่มต้นจากหลักฐานชั้นรองแล้วจึงศึกษาหลักฐานชั้นต้น ถ้าเป็นหลักฐานประเภทไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ควรเริ่มต้นจากผลการศึกษาของนักวิชาการที่เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ก่อนไปศึกษาจากของจริงหรือสถานที่จริง
การศึกษาประวัติศาสตร์ที่ดีควรใช้ข้อมูลหลายประเภท ขึ้นอยู่กับว่าผู้ศึกษาต้องการศึกษาเรื่องอะไร ดังนั้นการรวบรวมข้อมูลที่ดีจะต้องจดบันทึกรายละเอียดต่างๆ ทั้งข้อมูลและแหล่งข้อมูลให้สมบูรณ์และถูกต้อง เพื่อการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ


ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน

วิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์ คือ การตรวจสอบหลักฐานและข้อมูลในหลักฐานเหล่านั้นว่า มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานและวิพากษ์ข้อมูลโดยขั้นตอนทั้งสองจะกระทำควบคู่กันไป เนื่องจากการตรวจสอบหลักฐานต้องพิจารณาจากเนื้อหา หรือข้อมูลภายในหลักฐานนั้น และในการวิพากษ์ข้อมูลก็ต้องอาศัยรูปลักษณะของหลักฐานภายนอกประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานหรือวิพากษ์ภายนอก
การวิพากษ์หลักฐาน (external criticism) คือ การพิจารณาตรวจสอบหลักฐานที่ได้คัดเลือกไว้แต่ละชิ้นว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด แต่เป็นเพียงการประเมินตัวหลักฐาน มิได้มุ่งที่ข้อมูลในหลักฐาน ดังนั้นขั้นตอนนี้เป็นการสกัดหลักฐานที่ไม่น่าเชื่อถือออกไปการวิพากษ์ข้อมูลหรือวิพากษ์ภายใน
การวิพากษ์ข้อมูล (internal criticism) คือ การพิจารณาเนื้อหาหรือความหมายที่แสดงออกในหลักฐาน เพื่อประเมินว่าน่าเชื่อถือเพียงใด โดยเน้นถึงความถูกต้อง คุณค่า ตลอดจนความหมายที่แท้จริง ซึ่งนับว่ามีความสำคัญต่อการประเมินหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพราะข้อมูลในเอกสารมีทั้งที่คลาดเคลื่อน และมีอคติของผู้บันทึกแฝงอยู่ หากนักประวัติศาสตร์ละเลยการวิพากษ์ข้อมูลผลที่ออกมาอาจจะผิดพลาดจากความเป็นจริง

ขั้นตอนที่ 4 การตีความหลักฐาน


การตีความหลักฐาน หมายถึง การพิจารณาข้อมูลในหลักฐานว่าผู้สร้างหลักฐานมีเจตนาที่แท้จริงอย่างไร โดยดูจากลีลาการเขียนของผู้บันทึกและรูปร่างลักษณะโดยทั่วไปของประดิษฐกรรมต่างๆเพื่อให้ได้ความหมายที่แท้จริงซึ่ง
อาจแอบแฟงโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม
ในการตีความหลักฐาน นักประวัติศาสตร์จึงต้องพยายามจับความหมายจากสำนวนโวหาร ทัศนคติ ความเชื่อ ฯลฯ ของผู้เขียนและสังคมในยุคสมัยนั้นประกอบด้วย เพื่อทีจะได้ทราบว่าถ้อยความนั้นนอกจากจะหมายความตามตัวอักษรแล้ว ยังมีความหมายที่แท้จริงอะไรแฝงอยู่


ขั้นตอนที่ 5 การสังเคราะห์และการวิเคราะห์ข้อมูล


จัดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าจะต้องเรียบเรียงเรื่อง หรือนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่เป็นการตอบหรืออธิบายความอยากรู้ ข้อสงสัยตลอดจนความรู้ใหม่ ความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้านั้น
ในขั้นตอนนี้ ผู้ศึกษาจะต้องนำข้อมูลที่ผ่านการตีความมาวิเคราะห์ หรือแยกแยะเพื่อจัดแยกประเภทของเรื่อง โดยเรื่องเดียวกันควรจัดไว้ด้วยกัน รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กัน เรื่องที่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน จากนั้นจึงนำเรื่องทั้งหมดมาสังเคราะห์หรือรวมเข้าด้วยกัน คือ เป็นการจำลองภาพบุคคลหรือเหตุการณ์ในอดีตขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์และความต่อเนื่อง โดยอธิบายถึงสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และผล ทั้งนี้ผู้ศึกษาอาจนำเสนอเป็นเหตุการณ์พื้นฐาน หรือเป็นเหตุการณ์เชิงวิเคราะห์ก็ได้ ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการศึกษา

บทบาทพระมหากษัตริย์ไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ต่อการพัฒนาชาติไทย


ด้านสังคม
(1) การควบคุมกำลังคน
เมื่อแรกตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีใหม่ ๆ สังคมไทยต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนกำลังคนอย่างมาก เพราะต้องใช้กำลังคนทั้งการก่อสร้างพระนครใหม่ การป้องกันบ้านเมือง และต้องการไว้รบเพื่อเตรียมทำสงคราม ฉะนั้นระบบไพร่จึงมีบทบาทสำคัญมาก
ระบบไพร่ หรือ การควบคุมกำลังคนในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังคงอาศัยระบบไพร่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นรากฐาน จากสภาพทางเศรษฐกิจที่การค้ากับต่างประเทศกำลังเจริญรุ่งเรืองกว่าแต่ก่อน ตลอดจนการเข้ามาของมหาอำนาจตะวันตก มีผลทำให้ระบบไพร่ในสมัยนี้ลดการควบคุมที่ค่อนข้างเข้มงวดลง ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ไพร่หลวงจะต้องถูกเกณฑ์แรงงานประจำ เข้าเดือน ออกเดือน รวมแล้วปีหนึ่งต้องถูกเกณฑ์แรงงาน 6 เดือน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 1 การเข้าเวรทำงานของไพร่หลวงได้รับการผ่อนปรนให้ทำงานน้อยลง โดยทำงานให้รัฐเพียงปีละ 4 เดือน สมัยรัชกาลที่ 2 ได้ลดลงอีกเหลือเพียงปีละ 3 เดือนเท่านั้น และในจำนวนเวลา 3 เดือนที่ต้องเข้าเวรนี้ ถ้าผู้ใดจะส่งเงินมาเสียเป็นค่าราชการแทนการเข้าเวรก็ได้ เดือนละ 6 บาท ปีละ 18 บาท สำหรับไพร่สมนั้น ให้เข้ามารรับราชการด้วยเช่นกันปีละ 1 เดือน หรือจ่ายเป็นเงิน ปีละ 6 บาท
นอกจากนั้น ยังยอมให้ไพร่ที่กระทำผิดแล้วมามอบตัวจะไม่ถูกลงโทษ ให้ไพร่สามารถเลือกขึ้นสังกัดมูลนายได้ตามสมัครใจ ในสมัยรัชกาลที่ 3 ยังโปรดเกล้าฯ ให้มีการพระราชทานตราภูมิคุ้มห้ามแก่ไพร่หลวงทุกคน ทำให้ตั้งแต่นั้นมาไพร่หลวงจะได้รับการยกเว้นอากรค่าน้ำ อากรตลาดและอากรสมพัตสร ภายในวงเงิน 4 บาท (1 ตำลึง) และจ่ายเฉพาะเงินภาษีอากรส่วนที่เกินกว่า 4 บาทขึ้นไป การผ่อนปรนกับไพร่นั้น ยังคงต่อเนื่องมาในสมัยหลัง คือ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงยอมให้ไพร่ถวายฎีกาโดยตรงได้ ในกรณีที่ถูกข่มเหงจากมูลนาย โดยไม่จำเป็นต้องร้องเรียนผ่านตามขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม

(2) โครงสร้างชนชั้นของสังคม
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น โครงสร้างชนชั้นของสังคมยังคงคล้ายกับสมัยกรุงศรีอยุธยา คือ มี 2 ชนชั้น ได้แก่ ชนชั้นปกครอง และขุนนาง โดยมีรายละเอียดดังนี้
พระมหากษัตริย์
พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจสูงสุด พระบรมราชโองการของพระองค์เป็นกฎหมาย พระมหากษัตริย์ทรงมีฐานะดุจสมมติเทพ
พระบรมวงศานุวงศ์
พระบรมวงศานุวงศ์ เป็นผู้ที่สืบเชื้อสายของพระมหากษัตริย์ ตำแหน่งของพระบรมวงศานุวงศ์ จะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
- สกุลยศ หมายถึง ตำแหน่งที่สืบเชื้อสายมาโดยกำเนิด ซึ่งสกุลยศในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น มี 3 ตำแหน่ง ได้แก่ เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า และหม่อมเจ้า
- อิสสริยยศ หมายถึง ตำแหน่งที่พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานหรือเลื่อนยศให้ ซึ่งอิสสริยยศที่มีตำแหน่งสูงที่สุด คือ พระมหาอุปราช
ขุนนาง
ขุนนาง เป็นกลุ่มบุคคลที่ช่วยเหลือกิจการบริหารราชการแผ่นดินของพระมหากษัตริย์ ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ขุนนางได้รับการยกเว้นการเกณฑ์แรงงาน และขุนนางในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีอิทธิพลและบทบาททางการเมืองสูง

>ไพร่
ไพร่ หมายถึง ราษฎรทั่วไปทั้งชายและหญิง ที่มิได้เป็นเจ้านาย ขุนนาง และมิได้เป็นทาส นับเป็นชนชั้นที่มีจำนวนมากที่สุดของสังคม ไพร่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่สำคัญ คือ ไพร่สม ไพร่หลวง และไพร่ส่วย เหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยา
ไพร่หลวงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้รับการผ่อนผันลดหย่อนเวลาเกณฑ์แรงงาน ด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจที่ต้องการให้ไพร่เหล่านี้ได้ผลิตสินค้าเพื่อขายสู่ตลาดมากขึ้น ในสมัยนี้เนื่อง่จากการค้าเจริญรุ่งเรือง ไพร่ส่วยมีความสำคัญมาก เพราะรัฐบาลเร่งเอาส่วยสิ่งของต่าง ๆ เพื่อนำไปค้าขาย นับเป็นภาระหนักอย่างหนึ่งของไพร่ จึงมีคนจำนวนมากหนีระบบไพร่ โดยการไปเป็นไพร่สมของเจ้านายหรือขุนนางผู้มีอำนาจหรือขายตัวเป็นทาส จนในสมัยรัชกาลที่ 3 ประกาศห้ามขุนนางหรือเจ้านายซ่องสุมกำลังคน

>ทาส
ทาส เป็นชนชั้นต่ำสุดของสังคม ทำงานให้แก่นายเงินของตนเท่านั้น ไม่ต้องเข้าเวรรับราชการเช่นไพร่ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้ระบุประเภทของทาสไว้ 7 ประเภท คือ
1. ทาสสินไถ่ คือ ทาสที่ไถ่หรือซื้อมาด้วยทรัพย์
2. ทาสในเรือนเบี้ย คือ เด็กที่เกิดมาในขณะที่พ่อแม่เป็นทาส
3. ทาสที่ได้มาจากฝ่ายบิดามารดา คือ ทาสที่ได้รับเป็นมรดกสืบทอด
4. ทาสท่านให้ คือ ทาสที่มีผู้ยกให้
5. ทาสที่ได้เนื่องมาจากนายเงินไปช่วยให้ผู้นั้นพ้นโทษปรับ
6. ทาสที่มูลนายเลี้ยงไว้ในยามข้าวยากหมากแพง
7. ทาสเชลย คือ ทาสที่ได้มาจากสงคราม

>พระสงฆ์
พระสงฆ์ เป็นกลุ่มสังคมที่มาจากทุกชนชั้นในสังคม มีหน้าที่อบรมสั่งสอนประชาชน เป็นครูผู้สอนหนังสือ และวิทยาการต่าง ๆ แก่เด็กผู้ชาย


ด้านศาสนา
(1) การสังคายนาพระไตรปิฎก

พระไตรปิฎก คือ คัมภีร์บรรจุพระธรรมคำสั่งสอนทั้งปวงในพระพุทธศาสนา รัชกาลที่ 1 ทรงให้มีการชำระสะสางพระไตรปิฎกขึ้นที่วัดมหาธาตุ และจารึกลงในใบลาน คัดลอกเป็นพระไตรปิฎกฉบับหลวงขึ้น ปิดทองทั้งปกหน้าและด้านข้าง เรียกว่า พระไตรปิฎกฉบับทองใหญ่ หรือ ฉบับทองทึบ อัญเชิญประดิษฐานไว้ในตู้ประดับมุก หอพระมนเทียรธรรม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

(2) การกวดขันพระธรรมวินัย
รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้ออกกฎหมายสำหรับสงฆ์ขึ้นหลายฉบับ ถึงสมัยรัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้สำรวจความประพฤติของพระสงฆ์ เมื่อพบว่าพระสงฆ์รูปใดไม่ตั้งอยู่ในพระธรรมวินัย ก็ให้จับสึกเสีย

(3) การสถาปนาธรรมยุติกนิกาย
ในสมัยรัชกาลที่ 3 สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฏ ได้เสด็จออกผนวช ทรงพบว่าคำสอน และข้อปฏิบัติต่าง ๆ ทางศาสนาพุทธวิบัติไปเป็นอันมาก พระภิกษุก็มิได้เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้าน จึงมีพระประสงค์จะสังคายนาคณะสงฆ์เสียใหม่ ทรงตั้งคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย เมื่อ พ.ศ. 2372 แต่มิได้เลิกคณะสงฆ์เดิม และเรียกคณะสงฆ์เดิมว่า ฝ่ายมหานิกาย

(4) การส่งสมณทูตไปลังกา
ในสมัยรัชกาลที่ 2 ส่งสมณทูตไปลังกา ทั้งหมด 9 รูป โดยมีพระอาจารย์ดี และพระอาจารย์เทพ เป็นหัวหน้า และได้นำหน่อพระศรีมหาโพธิ์มาจากลังกา 6 ต้น ในสมัยรัชกาลที่ 3 พระสงฆ์เดินทางไปลังกาเพื่อขอยืมพระไตรปิฎกมาตรวจสอบกับของไทย 2 ครั้ง คือ ใน พ.ศ. 2385 และ พ.ศ. 2387

(5) การสร้างและบูรณะวัดวาอาราม
- วัดพระศรีรัตนศาสดาราม รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในเขตพระบรมมหาราชวังชั้นนอก เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกับวัดพระศรีสรรเพชญสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นวัดที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต วัดนี้จึงได้ชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า วัดพระแก้ว"
- วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ใช้เวลา 12 ปี ถือกันว่า เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 1 และได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์อีกครั้งหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 3 ใช้เวลา 16 ปี โปรดเกล้าฯ ให้มีการประชุมนักปราชญ์ ราชบัณฑิต และช่างทุกสาขาให้ช่วยกันชำระตำรา และจารึกไว้บนแผ่นศิลาตามเสา และผนังรายรอบบริเวณวัด เพื่อให้ประชาชนได้ศึกษาค้นคว้า วัดนี้จึงจัดว่าเป็นวิทยาลัยแห่งแรกในประเทศไทย
- วัดสุทัศนเทพวราราม รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานของพระศรีศากยมุนี หรือ พระโต
- วัดอรุณราชวราราม เดิมเรียกวัดแจ้ง รัชกาลที่ 2 ทรงบูรณปฏิสังขรณ์และได้สร้างพระอุโบสถใหม่ วัดนี้มีพระปรางค์องค์ใหญ่ที่งดงาม และได้ชื่อว่าเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 2


ด้านขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม

>ประเพณี
1. พระราชพิธีปราบดาภิเษกขึ้นเสวยราชย์ของพระมหากษัตริย์ รวมทั้งการสมโภชพระราชวังที่เพิ่งสร้างเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 1
2. พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เป็นพิธีสาบานตนของพระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนางผู้ใหญ่ ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ 1 พระองค์โปรดฯ ให้เคารพพระรัตนตรัยก่อนพระเชษฐบิดร
3. พระราชพิธีโสกันต์ คือ ประเพณีตัดผมจุกของพระราชโอรส พระราชธิดา หรือ เชื้อพระวงศ์ชั้นสูง
4. พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน ในสมัยรัชกาลที่ 1 โปรดที่จะเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินวัดที่พระองค์ทรงแต่งตั้งพระราชาคณะไปปกครอง
5. พระราชพิธีจรดพระนังคัลและพระราชพิธีพืชมงคล ซึ่งเป็นพระราชพิธีที่เกี่ยวกับการเพาะปลูก ซึ่งเป็นอาชีพหลักของชาวไทย
6. พระราชพิธีวิสาขบูชา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดเกล้าฯ ให้รื้อฟื้นพระราชพิธีนี้ขึ้นมาเป็นพิธีหลวงอีกพิธีหนึ่ง
7. พระราชพิธีอาพาธพินาศ ซึ่งเป็นพระราชพิธีที่จะต่อสู้กับโรคอหิวาตกโรค

>วรรณกรรม
ราชสำนักจัดว่าเป็นศูนย์กลางของวรรณกรรมและเป็นที่ชุมนุมของกวี
สมัยรัชกาลที่ 1 วรรณคดีที่สำคัญ ได้แก่ รามเกียรติ์ ราชาธิราช และสามก๊ก
สมัยรัชกาลที่ 2 ทรงเป็นกวี พระราชนิพนธ์ที่ได้รับการยกย่องมากที่สุด คือ อิเหนา กวีเอกคนสำคัญในสมัยนี้ คือ สุนทรภู่ ผลงานที่เด่นชัดที่สุด คือ เรื่องพระอภัยมณี

>สถาปัตยกรรม
แบบอย่างของสถาปัตยกรรม ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยเฉพาะสมัยรัชกาลที่ 1 และ รัชกาลที่ 2 ได้เจริญรอยตามแบบอย่างสถาปัตยกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยาเกือบทั้งหมด ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 3 นิยมศิลปะการก่อสร้างแบบจีน โดยเฉพาะรูปแบบการสร้างวัด

>จิตรกรรม
งานจิตรกรรมในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ส่วนใหญ่เป็นจิตรกรรมฝาผนัง และเลียนแบบอย่างมาจากกรุงศรีอยุธยา จิตรกรรมฝาผนังรุ่งเรืองมากที่สุดในสมัยรัชกาลที่ 3 และมีลักษณะศิลปะแบบจีนเข้ามาปะปนอยู่ด้วย จิตรกรรมที่สำคัญและมีชื่อเสียง ได้แก่ ภาพเขียนในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวังบวรสถานมงคล ภาพฝาผนังที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นต้น

การศึกษา
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ศูนย์กลางของการศึกษาที่สำคัญมีอยู่ 2 แห่ง คือ วัง และ วัด การเรียนหนังสือภาไทย เดิมยังไม่มีแบบเรียน เพิ่งมีเมื่อหมอบรัดเลย์ พิมพ์หนังสือประถม ก.กา ออกจำหน่าย ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังไม่มีโรงเรียนเป็นหลักแหล่ง ต้องไปศึกษาตามสำนักต่าง ๆ การเรียนที่สำคัญอีกแบบหนึ่ง คือ การศึกษาวิชาชีพตามบรรพบุรุษ หรือตามอาชีพที่มีในท้องถิ่นของตน เช่น ช่างทอง ช่างถม เป็นต้น

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475-ปัจจุบัน

สังคมไทย พ.ศ. 2475-ปัจจุบัน

การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ใน พ.ศ. 2475 เป็นเรื่องสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ดังจะเห็นได้จากประกาศหลัก 6 ประการ ของคณะราษฎร ที่เป็นแนวทางในการปกครอง ซึ่งประกอบเอกสาร ความสงบสุขภายในการบำรุงสุขของราษฎรในทางเศรษฐกิจ การมีสิทธิเสมอภาค การมีเสรีภาพ และการศึกษา ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมไทยไปจากเดิม
โดยหลักการของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศชาติ มีผลให้บุคคลในประเทศมีความเสมอภาคกันทั้งทางกฎหมายและมีเสรีภาพในการพูด การเขียน ที่ไม่ล้วงล้ำอธิปไตยผู้อื่น มีสิทธิเสรีภาพของประชาชน ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย สิ่งเหล่านี้ทำให้ระบบชนชั้นหมดไป

ในสถานภาพของพระมหากษัตริย์ ซึ่งดำรงฐานะเป็นองค์พระประมุขของรัฐ แต่ไม่สามารถที่จะได้พระราชอำนาจสิทธิ์ขาดดังเดิม พระองค์ทรงบริหารราชการแผ่นดิน ภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยใช้อำนาจผ่านสถาบันหลัก 3 ทาง คือ อำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ในส่วนของพระบรมวงศานุวงศ์ ก็ถูกยกเลิกอภิสิทธิ์ที่เคยมีอย่างสิ้นเชิง บรรดาขุนนาง ข้าราชการถูกยกเลิกบรรดาศักดิ์และยศ แม้จะไดรับการยกย่องทางสังคม แต่ก็ปรับตัวเองให้รับการศึกษาแบบตะวันตก เพื่อเป็นขุนนางในระบบข้าราชการ

การศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่งยวด ในการที่จะให้ราษฎรดำรงชีวิตอยู่ในสังคมยุคประชาธิปไตยได้ ดังคำประกาศของคณะราษฎร ฉบับที่ 1 กำหนดให้การศึกษามีความสำคัญเป็นหลักในการบริหารบ้านเมือง ดังนั้น ในสมัยนี้ จึงประกาศแผนการศึกษาชาติ ในปี พ.ศ. 2475 ให้ประชาชนทุกคนได้รับการศึกษา เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ พ.ศ. 2477 ได้มีการตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และการเมือง เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้เรื่องการเมือง ในระบอบประชาธิปไตย และต่อมาได้มีการตั้งมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยศิลปากร ใน พ.ศ. 2488 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา ถือเป็นการศึกษาภาคบังคับ

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย ชาวจีนได้เข้ามาผูกขาดควบคุมเศรษฐกิจของชาติ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี จึงได้ประกาศใช้นโยบายทางเศรษฐกิจมากขึ้น ทำให้เกิดระบบผูกขาดการค้าขึ้น โดยตั้งรัฐวิสาหกิจ โดยมีนักการเมืองและพ่อค้าชาวจีนเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ กลายเป็นคนกลุ่มใหม่ที่มีบทบาทสำคัญในสังคมไทย ที่มีฐานะร่ำรวยและมีอำนาจ ในขณะที่ชาวนา ชาวไร่ยังมีสภาพความเป็นอยู่ที่ยากจน แร้นแค้น เพราะถูกพ่อค้าคนกลางเอาเปรียบเมื่อขายผลผลิต คนเหล่านี้จึงเริ่มอพยพเข้ามาทำงานในเมืองใหญ่ๆ และกรุงเทพฯ ยังผลให้คนในชนบทลดน้อยลง

การพัฒนาชาติไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น






การปกครองสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น


>สภาพทางการเมืองในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังคงรูปแบบของระบบประชาธิปไตยอันเป็นระบบการปกครองที่สืบทอดมาช้านาน การเปลี่ยนแปลงภายในตัวระบบอยู่ที่การปรับบทบาทของสถาบันกษัตริย์ ซึ่งเป็นสถาบันสูงสุดที่ทำหน้าที่ปกครองประเทศ รูปแบบของสถาบ้นกษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คลายความเป็นเทวราชาลงเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันก็กลับเน้นคติและรูปแบบของธรรมราชาขึ้นแทนที่ อย่างไรก็ตาม อำนาจอันล้นพ้นของพระมหากษัตริย์ก็มีอยู่แต่ในทางทฤษฎี เพราะในทางปฏิบัติ พระราชอำนาจของพระองค์กลับถูกจำกัดลงด้วยคติธรรมในการปกครอง ซึ่งอิงหลักธรรมของพุทธศาสนา คือ ทศพิธราชธรรม กับอีกประการหนึ่ง คือ การถูกแบ่งพระราชอำนาจตามการจัดระเบียบควบคุมในระบบไพร่ ซึ่งถือกันว่า พระมหากษัตริย์คือมูลนายสูงสุดที่อยู่เหนือมูลนายทั้งปวง แต่ในทางปฏิบัติพระองค์ก็มิอาจจะควบคุมดูแลไพร่พลเป็นจำนวนมากได้ทั่วถึง จึงต้องแบ่งพระราชอำนาจในการบังคับบัญชากำลังคนให้กับมูลนายในระดับรองๆ ลงมา ในลักษณะเช่นนั้น มูลนายที่ได้รับมอบหมายให้กำกับไพร่และบริหารราชการแผ่นดินต่างพระเนตรพระกรรณ จึงเป็นกลุ่มอำนาจมีอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งกลุ่มใดจะมีอำนาจเหนือกลุ่มใดก็แล้วแต่สภาพแวดล้อมของสังคมในขณะนั้นเป็นสำคัญ


>การปกครองและการบริหารประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น กล่าวได้ว่า รูปแบบของการปกครอง ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ยังคงยึดตามแบบฉบับที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงวางระเบียบไว้ จะมีการเปลี่ยนแปลงก็เพียงเล็กน้อย เช่น ในสมัยรัชกาลที่ ๑ โปรดฯ ให้คืนเขตการปกครองในหัวเมืองภาคใต้กลับให้สมุหกลาโหมตามเดิม ส่วนสมุหนายกให้ปกครองหัวเมืองทางเหนือ ส่วนพระคลังดูแลหัวเมืองชายทะเล ในด้านระบบการบริหาร ก็ยังคงมีอัครมหาเสนาบดี ๒ ฝ่าย คือ สมุหนายกเป็นหัวหน้าฝ่ายพลเรือน ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือ และสมุหกลาโหม เป็นหัวหน้าราชการฝ่ายทหาร ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ ตำแหน่งรองลงมาคือ เสนาบดีจตุสดมภ์ แบ่งตามชื่อกรมที่มีอยู่คือ เวียง วัง คลังและ นา ในบรรดาเสนาทั้ง ๔ กรมนี้ เสนาบดีกรมคลังจะมีบทบาทและภาระหน้าที่มากที่สุด คือนอกจากจะบริหารการคลังของประเทศแล้ว ยังมีหน้าที่ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองชายทะเลตะวันออก เสนาบดีทั้งหลายมีอำนาจสั่งการภายในเขตความรับผิดชอบของตน รูปแบบที่ถือปฏิบัติก็คือ ส่งคำสั่งและรับรายงานจากเมืองในสังกัดของตน ถ้ามีเรื่องร้ายที่เกิดขึ้น เสนาบดีเจ้าสังกัดจะเป็นแม่ทัพออกไปจัดการเรื่องต่างๆ ให้เรียบร้อย มีศาลของตัวเองและสิทธิในการเก็บภาษีอากรในดินแดนสังกัดของตน รวมทั้งดูแลการลักเลขทะเบียนกำลังคนในสังกัดด้วย


>การบริหารในระดับต่ำลงมา อาศัยรูปแบบการปกครองคนในระบบไพร่ คือ แบ่งฝ่ายงานออกเป็นกรมกองต่างๆ แต่ละกรมกอง มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการควบคุมกำลังคนในสังกัดของตน โครงสร้างของแต่ละกรม ประกอบด้วยขุนนางข้าราชการอย่างน้อย ๓ ตำแหน่ง คือ เจ้ากรม ปลัดกรม และสมุห์บัญชี กรมมีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก กรมใหญ่มักเป็นกรมสำคัญ เจ้ากรมมีบรรดาศักดิ์ถึงขนาดเจ้าพระยาหรือพระยา


>กรมของเจ้านายที่มีความสำคัญมากที่สุด ได้แก่ กรมของพระมหาอุปราช ซึ่งเรียกกันว่า กรมพระราชวังบวรสถานมงคล กรมของพระองค์มีไพร่พลขึ้นสังกัดมาก กรมของเจ้านายมิได้ทำหน้าที่บริหารราชการโดยตรง ถือเป็นกรมที่ควบคุมกำลังคนเป็นสำคัญ เพราะฉะนั้น การแต่งตั้งเจ้านายขึ้นทรงกรมจึงเป็นการให้ทั้งความสำคัญ เกียรติยศ และความมั่นคงเพราะไพร่พลในครอบครองเป็นเครื่องหมายแสดงถึงอำนาจและความมั่งคั่งของมูลนายผู้เป็นเจ้าของการบริหารราชการส่วนกลาง มีพระมหากษัตริย์เป็นมูลนายระดับสูงสุด เจ้านายกับขุนนางข้าราชการผู้บังคับบัญชากรมต่างๆ ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ฐานะเป็นมูลนายในระดับสูง ช่วยบริหารราชการ โดยมีนายหมวด นายกอง เป็นมูลนายระดับล่างอยู่ใต้บังคับบัญชา และทำหน้าที่ควบคุมไพร่อีกต่อหนึ่ง การสั่งราชการจะผ่านลำดับชั้นของมูลนายลงมาจนถึงไพร่


>สำหรับการปกครองในส่วนภูมิภาคหรือการปกครองหัวเมือง ขึ้นอยู่กับอัครมหาเสนาบดี ๒ ท่าน และเสนาบดีคลัง ดังได้กล่าวไว้ข้างต้น หัวเมืองแบ่งออกเป็นสองชั้นใหญ่ๆ ได้แก่ หัวเมืองชั้นในและหัวเมืองชั้นอก การแบ่งหัวเมืองยังมีอีกวิธีหนึ่ง โดยแบ่งออกเป็น ๔ ขั้น คือ เอก โท ตรี จัตวา ตามความสำคัญทางยุทธศาสตร์และราษฎร
-หัวเมืองชั้นใน เป็นหน่วยปกครองที่อยู่ใกล้เมืองหลวง มีเจ้าเมืองหรือผู้รั้ง ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าปกครองดูแล
-หัวเมืองชั้นนอก มีทั้งหัวเมืองใหญ่ หัวเมืองรอง และหัวเมืองชายแดน หัวเมืองเหล่านี้ อยู่ใต้การปกครองของเจ้าเมือง และข้าราชการในเมืองนั้นๆ


>นโยบายที่ใช้ในการปกครองหัวเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อความกระชับยิ่งขึ้น กล่าวคือ รัชกาลที่ ๑ ได้ทรงออกพระราชกำหนดตัดทอนอำนาจเจ้าเมืองในการแต่งตั้งข้าราชการที่สำคัญๆ ทุกตำแหน่ง โดยโอนอำนาจการแต่งตั้งจากกรมเมืองในเมืองหลวง นับเป็นการขยายอำนาจของส่วนกลาง โดยอาศัยการสร้างความจงรักภักดีให้เกิดขึ้นกับเจ้านายทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งเจ้าเมือง และข้าราชการที่แต่งตั้งตนในส่วนกลาง ตำแหน่งต่างๆ เหล่านี้ต้องรายงานตัวต่อผู้ตั้งทุกปี ทั้งนี้เพื่อผลในการควบคุมไพร่พลและเกณฑ์ไพร่มาใช้ เพราะฉะนั้น มูลนายในเมืองหลวงจึงได้ควบคุมสัสดีต่างจังหวัดอย่างใกล้ชิด


>ส่วนการปกครองในประเทศราช เช่น ลาว เขมร มลายู นั้น ไทยใช้วิธีปกครองโดยทางอ้อม ส่วนใหญ่จะปลูกฝังความนิยมไทยลงในความรู้สึกของเจ้านายเมืองขึ้น โดยการนำเจ้านายจากประเทศราชมาอบรมเลี้ยงดูในฐานะพระราชบุตรบุญธรรมของพระมหากษัตริย์ในราชสำนักไทยหรือสนับสนุนให้มีการแต่งงานกันระหว่างเจ้านายทั้งสองฝ่าย และภายหลังก็ส่งเจ้านายพระองค์นั้นไปปกครองเมืองประเทศราช ด้วยวิธีนี้ จึงทำให้เกิดความรู้สึกผูกพันกันขึ้นระหว่างกษัตริย์ไทยกับเจ้านายเมืองขึ้น การปกครอง หรือการขยายอำนาจอิทธิพลในอาณาจักรต่างๆ เหล่านี้ ฝ่ายไทยและประเทศราชไม่มีการทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ขึ้นกับอำนาจความมั่นคงของราชอาณาจักรไทย เพราะฉะนั้น ในช่วงใดที่ประเทศอ่อนแอ เมืองขึ้นก็อาจแข็งเมืองหรือหันไปหาแหล่งอำนาจใหม่ เพราะฉะนั้น เมื่ออำนาจตะวันออกแผ่อิทธิพลเข้ามาในดินแดนเอเซียอาคเนย์ ปัญหาเรื่องอิทธิพลในเขตแดนต่างๆ จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องเวลาทำความตกลงกัน

>ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินอย่างขนานใหญ่ ควบคู่ไปกับการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้ก็เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป การปฏิรูปเศรษฐกิจ ก็ได้แก่ การปรับปรุงระบบบริหารงานคลังและภาษีอากร ส่วนการปฏิรูปสังคมก็ได้แก่ การเลิกทาส การปฏิรูปการศึกษา รวมทั้งการปรับปรุงการสื่อสาร และการคมนาคม เป็นต้น
สำหรับมูลเหตุสำคัญที่ผลักดันให้มีการปฏิรูปการปกครอง มีอยู่ ๒ ประการ คือ


๑.มูลเหตุภายใน ทรงพิจารณาเห็นว่าการปกครองแบบเดิมไม่เหมาะสมกับสภาพทางการปกครองและทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ประเทศไทยมีประชากรเพิ่มขึ้น การคมนมคมและการติดต่อสื่อสารเริ่มมีความทันสมัยมากขึ้น การปกครองแบบเดิมจะมีผลทำให้ประเทศชาติขาดเอกภาพในการปกครอง ขาดประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินและพัฒนาได้ยาก


๒.มูลเหตุภายนอก ทรงพิจารณาเห็นว่า หากไม่ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินย่อมจะเป็นอันตรายต่อเอกราชของชาติ เพราะขณะนั้น จักวรรดินิยมตะวันตก ได้เข้ามาแสวงหาอาณานิคมในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนั้น แต่เดิมเราต้องยินยอมให้ประเทศตะวันตกหลายประเทศมีสิทธิภาพนอกอาณาเขตคือ สามารถตั้งศาลกงสุลขึ้นมาพิจารณาความคนในบังคับของตนได้ โดยไม่ต้องอยู่ใต้การบังคับของศาลไทย เพราะอ้างว่า ศาลไทยล้าสมัย

เศรษฐกิจสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น



สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เนื่องจากเป็นช่วงระยะของการก่อร่างสร้างตัวและไทยยังต้องทำสงครามกับพม่าอีก ซึ่งทำให้ฐานะของประเทศไม่มั่นคงนัก พระองค์จึงสนับสนุนให้ทำการค้ากับต่างประเทศ เช่น จีนและโปรตุเกส
ตั้งแต่ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เป็นต้นมา เศรษฐกิจของประเทศนับว่าฟื้นตัวขึ้นมาจากเดิมมาก การเกษตรซึ่งเป็นอาชีพหลักของประชาชนในช่วงระยะนี้ ขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับการค้ากับต่างประเทศ รายได้สำคัญของรัฐบาลสามารถแบ่งได้ 2 ทาง คือ

1. รายได้จากการค้ากับต่างประเทศ
กรุงเทพฯ นับว่าอยู่ในทำเลที่เหมาะสมในการติดต่อค้าขายทางเรือ เพราะตั้งอยู่ไม่ไกลจากปากทะเล ในสมัยรัชกาลที่ 2 พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3) ซึ่งทรงบังคับบัญชากรมท่า มีบทบาทในการส่งเสริมการค้าโดยเฉพาะกับจีน จนสมเด็จพระบรมชนกนาถ ทรงเรียกพระนามว่า "เจ้าสัว" ต่อมาเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างจริงจัง การค้าขายกับต่างประเทศจึงขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าใน 2 รัชกาลแรก
รายได้จากการค้ากับต่างประเทศที่สำคัญ สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ดังนี้คือ

(1) การค้าสำเภาหลวง พระคลังสินค้า ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐขึ้นอยู่กับพระคลัง (พระยาโกษาธิบดี) มีหน้าที่รับผิดชอบในการแต่งเรือสำเภาหลวงบรรทุกสิ่งของที่เป็นส่วย เช่น ดีบุก พริกไทย ครั่ง ขี้ผึ้ง ไม้หอม ฯลฯ รวมทั้งสินค้าอื่น ๆ ที่จัดซื้อหาเพิ่มเติมออกไปค้าขายกับจีนและประเทศใกล้เคียง เช่น เขมร ญวน และมลายู แล้วรับซื้อสินค้าต่างประเทศที่ต้องการใช้ภายในประเทศ เช่น ผ้า ถ้วยชาม มาจำหน่ายแก่ประชาชนอีกต่อหนึ่ง ผลกำไรจากการค้าสำเภาหลวงนับเป็นรายได้ที่สำคัญยิ่งของแผ่นดินในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น


(2) กำไรจากการผูกขาดสินค้า พระคลังสินค้ามีหน้าที่ควบคุมการค้ากับต่างประเทศ เช่นในสมัยอยุธยา โดยผูกขาดสินค้าบางอย่าง เช่น รังนก ฝาง ดีบุก งาช้าง พริกไทย เนื้อไม้ ตะกั่ว และพลวง เป็นสินค้าผูกขาดของหลวง ราษฎรผู้ใดมีสินค้าดังกล่าว ให้นำมาขายแก่พระคลังสินค้า เท่านั้น ห้ามเอกชนซื้อขายกับพ่อค้าต่างชาติโดยตรง ถ้าชาวต่างประเทศต้องการซื้อสินค้าเหล่านี้ จะต้องซื้อผ่านพระคลังสินค้า ซึ่งทำหน้าที่เป็นพ่อค้าคนกลาง


(3) ภาษีปากเรือ เป็นค่าธรรมเนียม ซึ่งเก็บจากเรือสินค้าของชาวต่างประเทศที่เข้ามาจอดในเมืองท่าของไทย กำหนดเก็บภาษีตามส่วนกว้างที่สุดของเรือ โดยคิดอัตราภาษีเป็นวาและเรียกเก็บในอัตราที่ต่างกัน เช่น ในสมัยรัชกาลที่ 2 เรือของจีนเสียวาละ 40 บาท เรือกำปั่นฝรั่ง เสียวาละ 118 บาท ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อไทยทำสนธิสัญญาเบอร์นีกับอังกฤษ ใน พ.ศ. 2369 ได้มีข้อตกลงว่ารัฐบาลไทยจะเก็บภาษีจากพ่อค้าอังกฤษรวมเป็นอย่างเดียวตามความกว้างของปากเรือ เรือสินค้าที่บรรทุกสินค้ามาขาย เก็บวาละ 1,700 บาท ส่วนเรือที่ไม่ได้บรรทุกสินค้าเข้ามาขาย เก็บวาละ 1,500 บาท


(4) ภาษีสินค้าขาเข้า เก็บจากสินค้าที่พ่อค้าต่างประเทศนำเข้ามาจำหน่าย เช่น ผ้าฝ้าย ผ้าแพรจีน เครื่องแก้ว เครื่องลายคราม ใบชา อัตราการเก็บไม่แน่นอน ยืดหยุ่นตามความเหมาะสม เช่น เรือของประเทศที่มีสัมพันธไมตรีเข้ามาค้าขายเป็นประจำ จะได้รับสิทธิพิเศษ ในสมัยรัชกาลที่ 2 เรือสินค้าของชาวจีนเสียภาษีสินค้าขาเข้าร้อยละ 4 ถ้าเป็นเรือสินค้าของชาติตะวันตก เสียภาษีร้อยละ 8 ของราคาสินค้า


(5) ภาษีสินค้าขาออก เก็บจากสินค้าที่ส่งออกในอัตราที่ต่างกันไปตามชนิดของสินค้า เช่น ในสมัยรัชกาลที่ 2 รังนกนางแอ่นกับเขากวางอ่อน เสียภาษีร้อยละ 20 ของราคาสินค้า งาช้างหาบละ 10 สลึง เกลือเกวียนละ 4 บาท หนังวัว หนังควาย กระดูกช้าง หาบละ 1 บาท


2. รายได้ภายในประเทศ
ส่วนใหญ่คงเป็นแบบเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายและสมัยกรุงธนบุรี รัฐบาลมีรายได้จากการเก็บภาษีอากร แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ


(1) จังกอบ หมายถึง ภาษีสินค้าผ่านด่านทั้งทางบกและทางน้ำ โดยการเก็บตามสัดส่วนสินค้าในอัตรา 10 หยิบ 1 หรือเก็บเงินตามขนาดของยานพาหนะที่ขนสินค้าผ่านด่าน ส่วนใหญ่วัดตามความกว้างที่สุดของปากเรือ


(2) อากร เป็นเงินที่เก็บจากผลประโยชน์ที่ราษฎรได้จากการประกอบอาชีพต่าง ๆ ที่ไม่ใช่การค้าขายโดยตรง เช่น การทำนา ทำสวน หรือเงินที่พ่อค้าเสียให้แก่รัฐบาลในการให้สัมปทานการประกอบการต่าง ๆ เช่น การให้เก็บของป่า การต้มสุรา อัตราที่เก็บประมาณ 1 ใน 10 ของผลประโยชน์ที่ราษฎรทำมาหาได้


(3) ส่วย เป็นเงินหรือสิ่งของที่ไพร่หลวงที่ไม่ต้องการเข้าเวรรับราชการส่งมาให้รัฐแทนการเข้าเวรรับราชการ โดยรัฐเป็นผู้กำหนดว่าให้ไพร่หลวงต้องเข้าเวรภายใน 3 เดือน ผู้ใดไม่ต้องการจะเข้าเวร จะต้องเสียเป็นเงินเดือนละ 6 บาท


(4) ฤชา เป็นเงินค่าธรรมเนียมที่รัฐเรียกเก็บจากราษฎร ในกิจการที่ทางราชการจัดทำให้ เช่น การออกโฉนด เงินปรับสินไหม ที่ฝ่ายแพ้จะต้องชดใช้ให้แก่ฝ่ายชนะ รัฐก็จะเก็บไปครึ่งหนึ่งเป็นค่าฤชา เรียกว่า "เงินพินัยหลวง"


นอกจากนี้ ยังได้มีการปรับปรุงภาษีบางอย่างเพิ่มขึ้นจากเดิม ในสมัยรัชกาลที่ 2 และ รัชกาลที่ 3 ที่สำคัญ ๆ มีดังนี้



>ในสมัยรัชกาลที่ 2 มีการปรับปรุงภาษี ดังนี้


-การเดินสวน คือ การให้เจ้าพนักงานที่ได้รับการแต่งตั้งออกไปสำรวจเรือกสวนของราษฎรว่าได้จัดทำผลประโยชน์ในที่ดินมากน้อยเพียงใด แล้วออกหนังสือสำคัญให้เจ้าของถือไว้เพื่อเป็นหลักฐานการเสียภาษีอากร ซึ่งการจัดแบ่งภาษีการเดินสวนจัดแบ่งตามประเภทของผลไม้


-การเดินนา คือ การให้เจ้าพนักงานออกไปสำรวจที่นาของราษฎร แล้วออกหนังสือสำคัญให้เจ้าของถือไว้เพื่อเป็นหลักฐานในการเสียภาษีอากรที่เรียกว่า "หางข้าว" คือ การเก็บข้าวในอัตราไร่ละ 2 ถัง และต้องนำไปส่งที่ฉางหลวงเอง


-เงินค่าผูกปี้ข้อมือจีน เดิมชาวจีนได้รับการยกเว้นจากการเกณฑ์แรงงานในขณะที่ราษฎรไทยที่เป็นไพร่และชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ที่อาศัยอยู่ในเมืองไทยต้องถูกสักข้อมือเป็นไพร่และต้องทำงานให้แก่มูลนายและพระเจ้าแผ่นดิน รัฐบาลไทยในสมัยรัชกาลที่ 2 เห็นควรที่จะได้ใช้ประโยชน์จากแรงงานจีน จึงได้พิจารณาเก็บเงินค่าราชการจากชาวจีน 1 บาท 50 สตางค์ ต่อ 3 ปี จีนที่มาเสียค่าแรงงานแล้ว จะได้รับใบฎีกาพร้อมกับได้รับการผูกปี้ข้อมือด้วยไหมสีแดงประทับตราด้วยครั่งเป็นตราประจำเมือง ซึ่งแตกต่างกันออกไป เช่น เมืองเพชรบุรีเป็นรูปหนู กาญจนบุรี เป็นรูปบัว การผูกปี้ข้อมือจีนนี้ เริ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 ได้เป็นประเพณีปฏิบัติสืบมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 จึงมีพระราชบัญญัติลักษณะการผูกปี้ข้อมือจีน พ.ศ. 2443 ออกใช้บังคับทั่วทุกมณฑล และได้ยกเลิกไปในตอนปลายรัชกาลเมื่อ พ.ศ. 2451


ในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการเก็บภาษีอากรเพิ่มขึ้นหลายชนิด เช่น ภาษีพริกไทย น้ำตาล เป็นต้น ในสมัยนี้มีระบบการเก็บภาษีแบบใหม่เกิดขึ้น เรียกว่า "ระบบเจ้าภาษีนายอากร" หมายถึง การที่รัฐเปิดประมูลการเก็บภาษี ผู้ชนะการประมูล คือ ผู้ที่เสนอผลประโยชน์สูงสุดให้แก่รัฐบาล มีอำนาจไปดำเนินการเก็บภาษีแทนรัฐบาลอีกต่อหนึ่ง ผู้ที่ประมูลภาษี เรียกว่า "เจ้าภาษีนายอากร" ส่วนมากเป็นชาวจีนผู้มีฐานะดีทางเศรษฐกิจจากการลงทุนค้าขาย ผลดีของระบบเจ้าภาษีนายอากร คือ รายได้จากการเก็บภาษีอากรได้ผลเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้น แต่มีข้อเสีย คือ เป็นระบบผูกขาดที่ให้แก่ชาวจีนเป็นส่วนใหญ่ และอาจจะมีการขูดรีดภาษีจากราษฎรได้

ความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตกของไทยในสมัยรัชกาลที่ 1-3


การค้ากับต่างประเทศในสมัยรัชกาลที่ 1 ทำการค้าสำเภา ส่วนใหญ่จะทำการค้ากับจีน นอกจากนี้ ยังมีชวา มลายู อินเดีย ดังนั้น เพื่อความสะดวกในการค้า จึงทรงแต่งตั้งชาวจีนให้ดำรงตำแหน่งขุนนาง เป็นพระยาโชฎึกราชเศรษฐี ตำแหน่งเจ้ากรมท่าซ้าย เพื่อติดต่อการค้ากับจีน และทรงแต่งตั้งผู้นับถือศาสนาอิสลามให้เป็นพระยาจุฬาราชมนตรี ตำแหน่งกรมท่าขวา เพื่อติดต่อการค้ากับมลายู ชวา อินเดีย และอาหรับ
การค้ากับต่างประเทศในสมัยรัชกาลที่ 2 ได้มีการจัดสำเภาไทยไปค้าขายกับประเทศต่าง ๆ ในเอเชียกว่าร้อยลำ นอกจากนั้น ก็ทำการค้ากับชาวตะวันตก เช่น โปรตุเกส อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฮอลันดา ซึ่งกิจการการค้าของหลวงนั้น พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (รัชกาลที่ 3) ทรงเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญจนได้รับพระราชทานสมญานามว่า "เจ้าสัวกรมท่า" ในสมัยนี้ อังกฤษได้ส่งจอห์น ครอว์เฟิร์ด เข้ามาเจรจาเรื่องการค้ากับไทย ขอให้ยกเลิกการผูกขาดพระคลังสินค้า และให้กำหนดภาษีขาเข้าและขาออกให้แน่นอน แต่ก็ไม่สามารถตกลงกันได้
การค้ากับต่างประเทศในสมัยรัชกาลที่ 3 ในสมัยนี้ อังกฤษได้ส่งร้อยเอกเฮนรี เบอร์นี เข้ามาเจรจาทำสนธิสัญญาเบอร์นีกับไทย โดยมีใจความสำคัญ ดังนี้


(1) อนุญาตให้พ่อค้าไทยและอังกฤษติดต่อการค้าได้โดยเสรี แต่สินค้าอาวุธพ่อค้าต้องขายให้รัฐบาลไทยเท่านั้น


(2) การเก็บภาษีปากเรือให้เก็บตามความกว้างของปากเรือ ถ้าเรือมีสินค้า เก็บวาละ 1,700 บาท ถ้าเรือไม่มีสินค้า เก็บวาละ 1,500 บาท


(3) พ่อค้าจะต้องทอดสมอเรือสินค้าที่ปากน้ำเจ้าพระยา เพื่อให้เจ้าหน้าที่ไทยตรวจบัญชีค้นสินค้า และนำสินค้าอาวุธเก็บรักษาไว้ จึงจะอนุญาตให้เข้าไปได้


(4) คนอังกฤษทุกคน ต้องปฏิบัติตามกฎหมายไทยทุกประการ ถ้าทำความผิดจะถูกลงโทษตามกฎหมาย การทำสนธิสัญญาครั้งนี้ยังไม่เป็นที่พอใจของฝ่ายอังกฤษ อังกฤษจึงพยายามแก้ไขสนธิสัญญา โดยการส่ง เซอร์ เจมส์ บรูค เข้ามาเจรจาใน พ.ศ. 2383 แต่ไม่สำเร็จ

สภาพสังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น


สภาพสังคมไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นส่วนใหญ่มีลักษณะโครงสร้างไม่แตกต่างจากสมัยอยุธยาและธนบุรี
องค์ประกอบของสังคมไทยประกอบด้วยสถาบันต่างๆ ได้แก่ สถาบันพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง ข้าราชการ ไพร่ และทาส


1. พระมหากษัตริย์ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีลักษณะเป็นทั้งเทวราชาและธรรมราชา
พระมหากษัตริย์ในฐานะองค์สมมติเทพ พระมหากษัตริย์ทรงดำรงฐานะเป็นสมมติเทพตามติของศาสนาพราหมณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นสมมติเทพ เช่น การสร้างที่ประทับ พระที่นั่งพระราชวัง การประกอบพิธีต่างๆ การใช้คำราชาศัพท์ เป็นต้น
พระมหากษัตริย์ในฐานะธรรมราชา ตามคติธรรมราชานั้นถือว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งทศพิธราชธรรม 10 ประการ และจักรวรรดิวัตร 12 ประการ
อย่างไรก็ตาม โดยขัตติยราชประเพณีแล้วพระมหากษัตริย์ทรงดำรงฐานะประดุจดังสมมติเทพ โดยคติความเชื่อ แต่ในทางปฏิบัติ พระองค์ทรงเป็นธรรมราชา ทำให้ฐานะของพระมหากษัตริย์ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นมีลักษณะของความเป็นผู้นำทางการเมืองที่เหมือนคนธรรมดามากขึ้น แต่พระองค์ก็ยังทรงมีพระราชอำนาจสูงสุดเป็นเจ้าชีวิตของปวงชน เป็นพระเจ้าแผ่นดิน เป็นจอมทัพ เป็นต้น และพระบรมราชโองการของพระองค์ ผู้ใดจะฝ่าฝืนไม่ได้ ถ้าผู้ใดฝ่าฝืนต้องถูกลงโทษอย่างหนัก


2. พระบรมวงศานุวงศ์
สกุลยศและอิสริยยศของพระบรมวงศานุวงศ์ บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งหลายส่วนใหญ่ก็อยู่ในฐานะอันสูงส่ง ทั้งนี้เพราะเป็นพระญาติวงศ์ของพระมหากษัตริย์ ตำแหน่งของพระบรมวงศานุวงศ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สกุลยศกับอิสริยศ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น สกุลยศมีอยู่ 3 ตำแหน่ง คือ เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า และหม่อมเจ้า ส่วนอิสรยศ คือ พระยศที่พระมหากษัตริย์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนขึ้น อิสริยยศที่สำคัญที่สุดและสูงที่สุด ได้แก่ พระมหาอุปราช นอกจากนี้การได้รับตำแหน่งทรงกรมก็คือเป็นอิสริยยศด้วยเหมือนกัน ได้แก่ กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จ การถือศักดินาของพระบรมวงศานุวงศ์ แตกต่างกันไปตามลำดับ ถ้าเป็นเจ้าฟ้าจะมีศักดินาสูงสุด หม่อมราชวงศ์จะมีศักดินาต่ำสุด แต่ถ้าทรงกรมก็มีศักดินาสูงกว่าเจ้านายในระดับเดียวกัน แต่มิได้ทรงกรม เช่น เจ้าฟ้าที่เป็นพระเชษฐาหรือพระอนุชาของพระมหากษัตริย์ถ้าไม่ได้ทรงกรมจะถือศักดินา 20,000 ไร่ ถ้าทรงกรมจะถือศักดินาถึง 50,000 ไร่ตามลำดับ
สิทธิตามกฏหมายของพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งมีสิทธิอยู่ 2 ประการ คือ จะพิจารณาคดีของพระบรมวงศานุวงศ์ในศาลใดๆ ไม่ได้นอกจากศาลของกรมวัง และ จะนำพระบรมวงศานุวงศ์ไปขายเป็นทาสไม่ได้ เพราะเจ้าหน้าที่จะไม่ยอมให้กระทำสัญญาซื้อขายเช่นนั้นได้อย่างถูกต้องตามกฏหมาย


3. ขุนนาง
คือ บุคคลที่รับราชการแผ่นดิน มีศักดินา ยศ ราชทินนาม และตำแหน่ง เป็นเครื่องชี้บอกถึงอำนาจและเกียรติยศ ขุนนางเปรียบเหมือนข้าราชการของแผ่นดิน แต่ข้าราชการแผ่นดินบางคนจะไม่ได้มีฐานะเป็นขุนนางก็ได้ เพราะการเป็นขุนนางต้องขึ้นอยู่กับศักดินาของตนด้วย ผู้มีศักดินา 400 ไร่ขึ้นไปถึงได้เป็นขุนนาง ยกเว้นพวกมหาดเล็กเพราะถือว่าพวกนี้เป็นขุนนางอยู่แล้ว
การลำดับยศของขุนนาง ยศของขุนนางมี 7 ลำดับ จากสูงสุดไปต่ำสุดดังนี้ สมเด็จเจ้าพระยา เจ้าพระยา พระ หลวง ขุน หมื่น และ พัน ศักดินาของสมเด็จเจ้าพระยาอยู่ในระดับ 30,000 ไร่ นับว่าสูงสุดในบรรดาขุนนางทั้งหลาย ส่วนพันถือศักดินา 100-400 ไร่ หมื่นถือศักดินา 200-800 ไร่ ขุนถือศักดินา 200-1,000 ไร่ สำหรับขุนนางที่มียศเป็นหลวงขึ้นไป มีศักดินาไม่ต่ำกว่า 800 ไร่ขึ้นไป แสดงว่าผู้เป็นพัน หมื่น ขุนอาจมีสิทธิไม่ได้เป็นขุนนางก็ได้ ถ้าศักดินาของตนเองไม่ถึง 400 ไร่ และอาจมีสิทธิเป็นขุนนางได้ถ้ามีศักดินาถึง 400 ไร่ขึ้นไป
สิทธิตามกฏหมายของพวกขุนนาง เช่น ได้รับการยกเว้นจากการเกณฑ์แรงงานไปใช้ โดยการยกเว้นนี้ต่อเนื่องไปถึงบุตรของขุนนางด้วย แต่ถ้าผู้ใดเป็นข้าราชการมีศักดินาไม่ถึง 400 ไร่ก็จะได้รับเอกสารยกเว้นการเกณฑ์แรงงานเป็นรายบุคคล แต่เอกสารนี้มิได้คลุมไปถึงลูกของข้าราชการเหล่านั้น สำหรับผู้ที่มีศักดินา 400 ไร่ขึ้นไป จะได้รับสิทธิเข้าเฝ้าในการเสด็จออกขุนนาง และได้รับอนุญาตให้ผู้อื่นขึ้นศาลแทนตนได้ เป็นต้น


4. ไพร่
ฐานันดรไพร่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีสภาพไม่แตกต่างจากสมัยอยุธยา ไพร่ถูกมูลนายเอาชื่อเข้าบัญชีไว้ เพื่อเกณฑ์แรงงานไปใช้ในราชการต่างๆ ด้วยเหตุนี้ไพร่จึงต้องสังกัดอยู่กับเจ้าขุนมูลนายที่ตนสมัครอยู่ด้วยและถ้าเจ้าขุนมูลนายของตนสังกัดอยู่กรมกองใด ไพร่ผู้นั้นก็ต้องสังกัดในกรมกองนั้นตามเจ้านายด้วย
ไพร่อาจแบ่งประเภทตามสังกัดได้เป็น 2 ประเภท คือ ไพร่หลวงและไพร่สม ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน ดังนี้
-ไพร่หลวง หมายถึง ไพร่ที่พระราชทานแก่กรมกองต่างๆ เป็นไพร่ของพระมหากษัตริย์โดยตรง หน้าที่ของไพร่หลวงจึงแตกต่างกันไปตามหน้าที่ที่ระบุไว้ของแต่ละกรมกอง ดังนั้นไพร่หลวง จึงอยู่ในกรม 2 ประเภท คือ ไพร่หลวงที่ต้องมารับราชการตามที่ทางราชการกำหนดไว้ หากมาไม่ได้ต้องให้ผู้อื่นมาแทนหรือส่งเงินแทนการรับราชการ ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้โปรดเกล้าฯให้ไพร่หลวงเปลี่ยนเป็นอยู่เวรรับราชการปีละ 4 เดือน คือ เข้าเวร 1 เดือน ออกเวร 2 เดือน ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 2 ทรงลดเวลารับราชการของไพร่หลวงลงอีกจาก 4 เดือน เป็น 3 เดือนต่อปี คือเข้าเวร 1 เดือน ออกเวร 3 เดือนไพร่หลวงที่ต้องเสียเงิน แต่ไม่ต้องมารับราชการ ซึ่งเรียกว่า ไพร่หลวงส่วย
-ไพร่สม หมายถึง ไพร่ที่พระมหากษัตริย์พระราชทานให้แก่เจ้านายและขุนนางที่มีตำแหน่งทำราชการเพื่อเป็นผลประโยชน์ เนื่องจากในสมัยก่อนนั้นยังไม่มีเงินเดือน การควบคุมไพร่ของมูลนายจึงหมายถึงการได้รับผลประโยชน์ตอบแทน เช่น ได้รับส่วนลดจาการเก็บเงินค่าราชการ หรือได้รับของกำนัลจากไพร่ เป็นต้น
ไพร่สมนั้นจะตกเป็นของมูลนายตราบเท่าที่ขุนนางผู้เป็นมูลนายยังมีชีวิตอยู่ในตำแหน่งราชการ เมื่อมูลนายถึงแก่กรรม ไพร่สมจะถูกโอนมาเป็นไพร่หลวง นอกจากบุตรของขุนนางผู้นั้นจะยื่นคำร้องขอควบคุมไพร่สมต่อจากบิดา
ไพร่สามารถเปลี่ยนแปลงฐานะของตนเองได้ใน 2 กรณี คือ ถ้าทำความดีความชอบอย่างสูงต่อแผ่นดิน อาจได้รับเลื่อนฐานะเป็นขุนนางได้ แต่ถ้ามีความผิดหรือเป็นหนี้สินต่อนายเงิน ก็จะต้องตกเป็นทาสได้เช่นกัน
ในเรื่องความเป็นอยู่ของไพร่นั้น ไพร่หลวงจะมีฐานะลำบากที่สุด ส่วนไพร่ส่วยสบายที่สุด เพราะในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไพร่หลวงจะถูกเกณฑ์แรงงานเพื่อเข้ารับราชการ ทั้งในยามสงครามและยามสงบปีละ 3 เดือน ส่วนไพร่สมก็มีหน้าที่รับใช้มูลนายเป็นส่วนใหญ่ ไพร่สมจึงทำงานเบากว่าไพร่หลวง


5. ทาส
หมายถึง บุคคลที่มิได้มีกรรมสิทธิ์ในแรงงานและชีวิตของตนเอง แต่กลับตกเป็นของนายจนกว่าจะได้รับการไถ่ตัวพ้นจากความเป็นทาส นายมีสิทธิ์ในการซื้อขายทาสได้ ลงโทษทุบตีทาสได้ แต่จะให้ถึงตายไม่ได้ ทาสมีศักดินาเพียง 5 ไร่เท่านั้น
การแบ่งประเภทของทาส ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ทาสคงมีอยู่ 7 ประเภทเช่นเดียวกับสมัยอยุธยา ได้แก่ ทาสไถ่มาด้วยทรัพย์,ลูกทาสที่เกิดในเรือนเบี้ย,ทาสที่ได้มาข้างฝ่ายบิดามารดา,ทาสมีผู้ให้,ทาสอันได้ช่วยกังวลธุระทุกข์ด้วยคนต้องโทษทัณฑ์,ทาสที่เลี้ยงเอาไว้ในเวลาข้าวยากหมากแพง,และทาสเชลย ทาสเหล่านี้อาจไม่ยอมขอทานเพราะถือว่าเป็นเรื่องน่าอับอาย จึงยอมขายตัวลงเป็นทาส
การหลุดพ้นจากความเป็นทาส ทาสมีโอกาสได้รับการปลดปล่อยให้หลุดพ้นจากความเป็นทาส ในกรณีต่อไปนี้
- ถ้านายเงินอนุญาตให้ทาสบวชเป็นพระภิกษุหรือสามเณรหรือนางชี ก็ถือว่าหลุดพ้นจากความเป็นทาส แม้ภายหลังจะลาสิกขาบทแล้ว ก็จะเอาคืนมาเป็นทาสของตนไม่ได้
- ในกรณีนายเงินใช้ทาสไปทำสงครามและทาสถูกจับเป็นเชลย ต่อมาหนีรอดมาได้ก็หลุดพ้นจากความเป็นทาส
ถ้าทาสฟ้องนายว่าเป็นกบฏและสวบสวนได้ว่าเป็นจริง ให้ทาสนั้นพ้นจากความเป็นทาสได้
- นายเงิน พ่อของนายเงิน หรือพี่น้องลูกหลานของนายเงิน ได้ทาสเป็นภรรยา ให้ทาสนั้นเป็นไท และลูกที่เกิดมานั้นเป็นไทด้วย
ถ้าทาสนั้นตายด้วยการทำธุรกิจใดๆ ให้แก่นายเงิน นายเงินจะเรียกเอาเงินคืนจากผู้ขายไม่ได้ แต่ถ้าตายด้วยเหตุอื่นนายเงินจะเรียกเอาเงินคืนจากผู้ขายได้บ้าง
เป็นอิสระด้วยการไถ่ตัว อาจจะเป็นผู้ขอไถ่ตัวเอง หรือมีบุคคลใดก็ได้มาไถ่ให้เป็นอิสระ
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ภายหลังจากการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์แล้ว ทาสจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พวกทาสได้เพิ่มจำนวนมาก และคาดว่าผู้ที่เป็นทาสนั้นมีจำนวนถึง 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด ส่วนใหญ่ยอมเป็นทาสเพราะปัญหาซึ่งมีหนี้สินเป็นจำนวนมากที่สุด ทั้งนี้เพราะพวกชาวบ้านเป็นจำนวนมากที่ต้องเป็นหนี้สินเนื่องจากเก็บเกี่ยวไม่ได้ผล แต่ก็มีอีกเป็นจำนวนมากที่ยอมขายตัวเพื่อจะได้ไม่ต้องถูกเกณฑ์ไปทำงาน

นอกจากนี้สถาบันสงฆ์ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสังคมไทย ซึ่งพระมหากษัตริย์ ขุนนาง ไพร่ ทาส อาจเปลี่ยนสถานภาพจากฆราวาสมาเป็นพระภิกษุในสถาบันสงฆ์ได้ และผู้เป็นพระสงฆ์จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเกณฑ์แรงงาน
พระสงฆ์จะเป็นผู้ได้รับความเคารพนับถือจากคนไทยทุกระดับชั้น ตั้งแต่พระมหากษัตริย์ลงมาจนถึงไพร่และทาส แต่ในบางครั้งเมื่อสถาบันพระสงฆ์เสื่อมโทรมด้วยข้อวัตรปฏิบัติ พระมหากษัตริย์จะทรงเอาเป็นพระธุระเพื่อปรับปรุงแก้ไข และทำการปฏิรูปคณะสงฆ์ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยยิ่งขึ้น ดังเช่น ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงออกกฏหมายพระสงฆ์เพื่อควบคุมให้พระสงฆ์มีความบริสุทธิ์ เป็นต้น
สำหรับคนต่างด้าวที่เข้ามาพำนักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรมีอยู่ด้วยกันหลายพวก เป็นต้นว่า มอญ ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน บางพวกก็หนีร้อนมาพึ่งเย็น บางพวกก็ถูกกวาดต้อนมาเป็นเชลย ไม่ได้มีโอกาสกลับบ้านเมืองของตนเอง แต่ในบรรดาคนต่างด้าวที่เข้ามาพำนักอยู่ในราชอาณาจักรและมีผลกระทบอย่างสำคัญต่อสังคมและเศรษฐกิจของไทยในสมัยนี้คือพวกคนจีน

ศิลปวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น


ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น นับว่าเป็นการสืบสานวัฒนธรรมไทยเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาให้กลับมาเจริญรุ่งเรืองขึ้นใหม่ นอกจากนี้ก็มีการปรับปรุงเพิ่มเติมสิ่งใหม่ๆ ให้วัฒนธรรมไทยในยุคนี้ด้วย นับได้ว่าเป็นการธำรงรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมไทยที่มีมาแต่อยุธยาให้กลับเจริญรุ่งเรือง หลังจากประสบกับวิกฤตการณ์สงครามสู้รบระหว่างไทยกับพม่ามาแล้ว
สภาพทางสังคมของไทยตั้งแต่อดีต ได้ผูกพันกับพระพุทธศาสนามาโดยตลอด ความเจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมจึงมีส่วนสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความเจริญรุ่งเรืองทางศาสนาด้วย ศิลปกรรมและวรรณกรรมต่างๆ ที่บรรจงสร้างด้วยความประณีตก็เกิดจากแรงศรัทธาทางศาสนาทั้งสิ้น

1. การทำนุบำรุงทางด้านพระพุทธศาสนา
ในสมัยรัชกาลที่ 1 (พ.ศ.2325-2352) พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯให้ทำการสังคายนาพระไตรปิฏกที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ใน พ.ศ.2331 โดยใช้เวลาประชุมกันประมาณ 5 เดือน
ในสมัยรัชกาลที่ 2 (พ.ศ.2352-2367) พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้จัดงานพระราชกุศลอย่างใหญ่โตในวันวิสาขบูชา เหมือนดังที่เคยทำกันในสมัยอยุธยา คือ ทำบุญกันทั่วไปเป็นเวลา 3 วัน สัตว์ที่เคยถูกฆ่าเป็นอาหารนั้นโปรดให้ปล่อยให้หมดภายใน 3 วัน มิให้มีการฆ่าสัตว์โดยเด็ดขาด
ในสมัยรัชกาลที่ 3 (พ.ศ.2367-2394) พระองค์ทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างมาก พระองค์ทรงทำนุบำรุงคณะสงฆ์ ตลอดจนทรงสร้างและปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปและวัดวาอารามมากมาย ในสมัยนี้ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ได้มีโอกาสเผยแผ่ในประเทศไทยโดยพวกมิชชันนารี ทำให้คนไทยบางส่วนหันไปนับถือศาสนาคริสต์ ขณะเดียวกันในวงการพระพุทธศาสนาของไทยก็มีการเคลื่อนไหวที่จะปฏิรูปข้อวัตรปฏิบัติของคณะสงฆ์ไทยให้สอดคล้องกับคำสอนในพระไตรปิฏก โดยเจ้าฟ้ามงกุฏ ซึ่งทรงผนวชมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 และได้เสด็จมาเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร (พ.ศ.2370-2394) ทรงเป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในการปฏิรูปครั้งนั้น จนกระทั่งได้ทรงตั้งนิกายใหม่ เรียกว่า "ธรรมยุติกนิกาย"


2. การทำนุบำรุงศิลปกรรม
การทำนุบำรุงด้านศิลปกรรมในสมัยรัชกาลที่ 1 ในบรรดาศิลปกรรมของไทยซึ่งรัชกาลที่ 1 ทรงให้ความสนพระทัยมากนั้น ได้แก่ บรรดาตึกรามต่างๆ ที่สร้างขึ้น ล้วนมีการตกแต่งลวดลายอย่างงดงามทั้งภายในและภายนอก ทั้งโดยปูนและโดยไม้แกะสลัก ตึกที่ทรงให้จัดสร้างขึ้นส่วนมากเป็นวัด เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นต้น นอกจากนี้ก็มีพระที่นั่งต่างๆ เช่น พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย, พระที่นั่งไพศาลทักษิณ, พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน, พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เป็นต้น
รัชกาลที่ 1 ทรงสนพระทัยทางด้านวรรณคดี ดังนั้นในสมัยนี้จึงมีบทวรรณคดีที่สำคัญหลายเรื่อง เช่น รามเกียรติ์ นอกจากนี้ก็มีการแปลวรรณกรรมต่างชาติมาเป็นภาษาไทย เช่น หนังสือสามก๊ก ,ราชาธิราช เป็นต้น
การทำนุบำรุงด้านศิลปกรรมในสมัยรัชกาลที่ 2 ทรงสนพระทัยในเรื่องการก่อสร้างและตกแต่งตึกรามต่างๆ พระองค์โปรดเกล้าฯให้สร้าง "สวนขวา" ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ทรงริเริ่มสร้างพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม (แต่สร้างสำเร็จเรียบร้อยในสมัยรัชกาลที่ 3) พระปรางค์จะตกแต่งด้วยถ้วยและชามจีนซึ่งทุบให้แตกบ้าง แล้วติดกับฝาทำเป็นลวดลายรูปต่าง ๆ เช่น ดอกไม้ พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถทางด้านการแกะสลัก ดังจะเห็นได้จากประตูวัดพระเชตพนวิมลมังคลาราม ประตูวัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นต้น
รัชกาลที่ 2 โปรดการฟ้อนรำอย่างโบราณของไทยเป็นอันมาก ทั้งโขนและละคร ทรงปรับปรุงจังหวะและท่ารำต่างๆ โดยพระองค์เอง พระองค์โปรดให้มีพระราชนิพนธ์บทละครขึ้นใหม่ ทั้งที่เป็นเรื่องเดิมและเรื่องใหม่ หรือเอาเรื่องเดิมมาแต่งขึ้นใหม่ บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 มีทั้งหมด 7 เรื่อง เรื่อง"อิเหนา" เป็นเรื่องที่พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์เองตลอดทั้งเรื่อง ส่วนอีก 6 เรื่อง โปรดเกล้าฯ ให้กวีท่านอื่นๆ ร่วมงานด้วย

การทำนุบำรุงด้านศิลปกรรมในสมัยรัชกาลที่ 3 การผลิตงานทางด้านศิลปะในสมัยรัชกาลที่ 3 จัดว่ามีลักษณะเยี่ยมยอดในวงการศิลปะของไทยไม่แพ้ในสมัยอื่น ในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงมุ่งซ่อมแซมและปรับปรุงปราสาทมากกว่าจะสร้างใหม่ โดยระมัดระวังรักษาแบบดั้งเดิมเอาไว้ พระองค์ทรงปฏิสังขรณ์และขยายเขตวัดวาอารามมากมาย ทรงสร้างวัดด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ขึ้น 5 วัด ให้เชื้อพระวงศ์และขุนนางสร้างอีก 6 วัด วัดสำคัญที่สร้างในสมัยนี้ได้แก่ วัดเทพธิดาราม,วัดราชนัดดา,วัดเฉลิมพระเกียรติ์,วัดบวรนิเวศวรวิหาร,วัดบวรสถาน,วัดประยูรวงศ์,วัดกัลยาณมิตร เป็นต้น สิ่งก่อสร้างมากมายที่เป็นตัวอย่างของสถาปัตยกรรมทางศาสนาของไทย เช่น โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ พระสถูป พระมลฑป หอระฆัง เป็นต้น โบสถ์และวิหารที่สร้างขึ้นมีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีหลังคาลาดเป็นชั้น มุงกระเบี้องสี ผนังก่ออิฐถือปูนประดับลวดลาย และมีเสาใหญ่รายรอบรับชายคา โบสถ์ขนาดใหญ่และสวยงามที่สร้างในรัชกาลนี้คือ โบสถ์วัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งสร้างแบบสามัญ ส่วนโบสถ์วัดบวรนิเวศวรวิหารสร้างเป็นแบบมีมุขยื่นออกมาทั้งสองข้างทางด้านปลาย
สถาปัตยกรรมแบบไทยอย่างอื่นๆ ที่มีความสำคัญรองลงมา คือ พระมณฑป ศาลา หอระฆัง และระเบียงโบสถ์ สิ่งก่อสร้างเหล่านี้มีอยู่สิ่งหนึ่งที่ก่อสร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 และเป็นงานที่ดีที่สุด คือ ระเบียงรอบพระวิหารที่วัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งมีหน้าบันแกะสลักไว้อย่างงดงาม
ผลงานทางสถาปัตยกรรมอีกอย่างหนึ่งที่ได้ก่อสร้างไว้บริเวณวัด และจัดอยู่ในจำพวกสิ่งก่อสร้างปลีกย่อยคือ เรือสำเภาซึ่งก่อด้วยอิฐ รัชกาลที่ 3 ทรงมีรับสั่งให้สร้างขึ้นเพื่อว่าในอนาคตเมื่อไม่มีการสร้างเรือสำเภากันอีกแล้ว ประชาชนจะได้แลเห็นว่าเรือสำเภานั้นมีรูปร่างลักษณะเป็นอย่างไร วัดที่พระองค์ทรงรับสั่งให้สร้างสิ่งอันเป็นประวัติศาสตร์นี้ คือ "วัดยานนาวา"
ในสมัยรัชกาลที่ 3 ภาพเขียนแบบไทยต่างๆ ส่วนมากไม่โดดเด่น ที่เขียนขี้นมาส่วนใหญ่เพื่อความมุ่งหมายในการประดับให้สวยงามเท่านั้น ส่วนงานช่างแกะสลักในสมัยรัชกาลที่ 3 ก็เกี่ยวข้องกับเรื่องราวทางพระพุทธศาสนามากกว่างานช่างในสาขาจิตรกรรม โดยเฉพาะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นเครื่องบันดาลใจอันสำคัญยิ่งที่ก่อให้เกิดผลงานทางด้านศิลปะประเภทนี้
ทางด้านวรรณกรรม รัชกาลที่ 3 ทรงสนับสนุนวรรณคดีทางศาสนาและประวัติศาสตร์ ดังเช่น หนังสือเรื่อง "มลินทปัญญา" เป็นต้น แต่ในสมัยนี้ไม่สนับสนุนให้มีการแสดงละครภายในพระบรมมหาราชวัง ทั้งยังไม่โปรดปรานนักแสดงหรือนักประพันธ์คนใดเลย
กล่าวโดยสรุป ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น การทำนุบำรุงและฟื้นฟูทางด้านศิลปวัฒนธรรมได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่รัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลที่ 3 และการทำนุบำรุงก็กระทำโดยวิธีรักษารูปแบบเดิมไว้ตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ในขณะเดียวกันก็เพิ่มเติมสิ่งใหม่ๆ ผสมผสานเข้าไปด้วย ทำให้ศิลปวัฒนธรรมของไทยในยุคนี้เจริญรุ่งเรืองมาก