เทอม2'


Name : PITCHAYAPA WONGMADTHONG

Class : 5/10           Numbre : 8


หน่วยการเรียนรู้ที่ 1



ภูมิปัญญาไทย ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Wisdom หมายถึง ความรู้ความสามารถ วิธีการผลงานที่คนไทยได้ค้นคว้า รวบรวม และจัดเป็นความรู้ ถ่ายทอด ปรับปรุง จากคนรุ่นหนึ่งมาสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง จนเกิดผลิตผลที่ดี งดงาม มีคุณค่า มีประโยชน์ สามารถนำมาแก้ปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตได้แต่ละหมู่บ้าน แต่ละชุมชนไทย ล้วนมีการทำมาหากินที่สอดคล้องกับภูมิประเทศ มีผู้นำที่มีความรู้ มีฝีมือทางช่าง สามารถคิดประดิษฐ์ ตัดสินใจแก้ปัญหาของชาวบ้านได้ ผู้นำเหล่านี้ เรียกว่า ปราชญ์ชาวบ้าน หรือผู้ทรงภูมิปัญญาไทย

ลักษณะของภูมิปัญญาไทย

1. ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเป็นทั้งความรู้ ทักษะ ความเชื่อ และพฤติกรรม

2. ภูมิปัญญาไทยแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ

3. ภูมิปัญญาไทยเป็นองค์รวมหรือกิจกรรมทุกอย่างในวิถีชีวิตของคน

4. ภูมิปัญญาไทยเป็นเรื่องของการแก้ปัญหา การจัดการ การปรับตัว และการเรียนรู้ เพื่อความอยู่รอดของบุคคล ชุมชน และสังคม

5. ภูมิปัญญาไทยเป็นพื้นฐานสำคัญในการมองชีวิต เป็นพื้นฐานความรู้ในเรื่องต่างๆ

6. ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเฉพาะ หรือมีเอกลักษณ์ในตัวเอง

7. ภูมิปัญญาไทยมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อการปรับสมดุลในพัฒนาการทางสังคม

ภูมิปัญญาไทยสามารถจัดแบ่งได้ 10 สาขา

จากการศึกษาพบว่า มีการกำหนดสาขาภูมิปัญญาไทยไว้อย่างหลากหลายขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่หน่วยงาน องค์กร และนักวิชาการแต่ละท่านนำมากำหนด ในภาพรวมภูมิปัญญาไทยสามารถแบ่งได้เป็น 10 สาขาดังนี้

1. สาขาเกษตรกรรม หมายถึง ความสามารถในการผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะ และเทคนิคด้านการเกษตรกับเทคโนโลยี โดยการพัฒนาบนพื้นฐานคุณค่าดั้งเดิม ซึ่งคนสามารถพึ่งพาตนเองในภาวการณ์ต่างๆ ได้

2. สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม หมายถึง การรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการแปรรูปผลิตผล เพื่อชะลอการนำเข้าตลาด เพื่อแก้ปัญหาด้านการบริโภคอย่างปลอดภัย ประหยัด และเป็นธรรม อันเป็นกระบวนการที่ทำให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจได้

3. สาขาการแพทย์แผนไทย หมายถึง ความสามารถในการจัดการป้องกันและรักษาสุขภาพของคนในชุมชน โดยเน้นให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพและอนามัยได้

4. สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง ความสามารถเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งการอนุรักษ์ การพัฒนา และการใช้ประโยชน์จากคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน

5. สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน หมายถึง ความสามารถในการบริหารจัดการด้านการสะสมและบริการกองทุน และธุรกิจในชุมชน ทั้งที่เป็นเงินตราและโภคทรัพย์ เพื่อส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในชุม

6. สาขาสวัสดิการ หมายถึง ความสามารถในการจัดสวัสดิการในการประกันคุณภาพชีวิตของคน ให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

7. สาขาศิลปกรรม หมายถึง ความสามารถในการผลิตผลงานทางด้านศิลปะสาขาต่างๆ เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม วรรณกรรม ทัศนศิลป์ คีตศิลป์ ศิลปะมวยไทย เป็นต้น

8. สาขาการจัดการองค์กร หมายถึง ความสามารถในการบริหารจัดการดำเนินงานขององค์กรชุมชนต่างๆ ให้สามารถพัฒนา และบริหารองค์กรของตนเองได้ตามบทบาท และหน้าที่ขององค์การ เช่น การจัดการองค์กรของกลุ่มแม่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มประมงพื้นบ้าน เป็นต้น

9. สาขาภาษาและวรรณกรรม หมายถึง ความสามารถผลิตผลงานเกี่ยวกับด้านภาษาทั้งภาษาถิ่น ภาษาโบราณ ภาษาไทยและการใช้ภาษา ตลอดทั้ง ด้านวรรณกรรมทุกประเภท เช่น การจัดทำสารานุกรมภาษาถิ่น การปริวรรต หนังสือโบราณ การฟื้นฟูการเรียนการสอนภาษาถิ่นของท้องถิ่นต่างๆ เป็นต้น

10. สาขาศาสนาและประเพณี หมายถึง ความสามารถประยุกต์และปรับใช้หลักธรรมคำสอนทางศาสนา ความเชื่อ และประเพณีดั้งเดิมที่มีคุณค่าให้เหมาะสมต่อการประพฤติปฏิบัติ ให้บังเกิดผลดีต่อบุคคลและสิ่งแวดล้อม

คุณค่าของภูมิปัญญาไทย

ทางด้านการสร้างความภาคภูมิใจและศักดิ์ศรี เกียรติภูมิแก่คนไทย

คนไทยในอดีตที่มีความสามารถปรากฏในประวัติศาสตร์มีมาก เป็นที่ยอมรับของนานาอารยประเทศ เช่น นายขนมต้มเป็นนักมวยไทยที่มีฝีมือเก่งในการใช้อวัยวะทุกส่วน ทุกท่าของแม้ไม้มวยไทย สามารถชกมวยไทย จนชนะพม่าได้ถึงเก้าคนสิบคนในคราวเดียวกัน แม้ในปัจจุบันมวยไทยก็ยังถือว่า เป็นศิลปะชั้นเยี่ยม เป็นที่นิยมฝึก และแข่งขันในหมู่คนไทยและชาวต่างประเทศ ปัจจุบันมีค่ายมวยไทยทั่วโลกไม่ต่ำกว่า 30,000 แห่ง ชาวต่างประเทศที่ได้ฝึกมวยไทยจะรู้สึกยินดีและภาคภูมิใจ ในการที่จะใช้กติกาของมวยไทย เช่น การไหว้ครูมวยไทย การออกคำสั่งในการชกเป็นภาษาไทยทุกคำ เช่น คำว่า "ชก" "นับหนึ่งถึงสิบ" เป็นต้น ถือเป็นมรดกภูมิปัญญาไทย นอกจากนี้ ภูมิปัญญาไทยที่โดดเด่นยังมีอีกมากมาย เช่น มรดกภูมิปัญญาทางภาษาและวรรณกรรม โดยที่มีอักษรไทยเป็นของตนเองมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย และวิวัฒนาการมาจนถึงปัจจุบัน วรรณกรรมไทยถือว่าเป็น วรรณกรรมที่มีความไพเราะ ได้อรรถรสครบทุกด้าน วรรณกรรม หลายเรื่องได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศหลายภาษา ด้านอาหาร อาหารไทยเป็นอาหารที่ปรุงง่าย พืชที่ใช้ประกอบอาหารส่วนใหญ่เป็นพืชสมุนไพร ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นและราคาถูก มีคุณค่าทางโภชนาการ และยังป้องกันโรคได้หลายโรค เพราะส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นพืชสมุนไพร เช่น ตะไคร้ ขิง ข่า กระชาย ใบมะกรูด ใบโหระพา ใบกะเพรา เป็นต้น



ต้องการศึกษาต่อคลิกที่นี่ค่ะ !


แบบทดสอบจ๊ะ ..ลองทำกันดูนะ !! 




หน่วยการเรียนรู้ที่ 2.. .เบ้าหลอมวัฒนธรรม

วัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย
          การติดต่อกับชาวต่างชาติของคนไทยในยุคสมัยต่าง ๆ มีผลต่อสังคมไทยหลายด้าน  วัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย  โดยวัฒนธรรมบางอย่างได้ถูกปรับใช้ให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตและประเพณีดั้งเดิมของคนไทย  ขณะที่วัฒนธรรมบางอย่างรับมาใช้โดยตรง
          1.  วัฒนธรรมตะวันออกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย
          อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกต่อสังคมไทยมีมาตั้งแต่ก่อนการตั้งอาณาจักรของคนไทย  เช่น  สุโขทัย  ล้านนา  ซึ่งมีทั้งวัฒนธรรมที่รับจากอินเดีย  จีน  เปอร์เซีย  เพื่อนบ้าน  เช่น  เขมร  มอญ  พม่า  โดยผ่านการติดต่อค้าขาย  การรับราชการของชาวต่างชาติ  การทูต  และการทำสงคราม
          สำหรับตัวอย่างอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกที่มีต่อสังคมไทยมีดังนี้
         1.  ด้านอักษรศาสตร์  เช่น  ภาษาไทยที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในสมัยสุโขทัยได้รับอิทธิพลจากภาษาขอม  รับภาษาบาลี  ภาษาสันสกฤตจากหลายทางทั้งผ่านพระพุทธศาสนา  ผ่านศาสนาพราหมณ์-ฮินดู  จากอินเดีย  เขมร  นอกจากนี้  ในปัจจุบันภาษาจีน  ญี่ปุ่น  เกาหลี  ก็ได้มีอิทธิพลต่อสังคมไทยมากขึ้น
        2.  ด้านกฎหมาย  มีการรับรากฐานกฎหมาย  มีการรับรากฐานกฎหมายอินเดีย  ได้แก่  คัมภีร์พระธรรมศาสตร์  โดยรับผ่านมาจากหัวเมืองมอญอีกต่อหนึ่ง  และกลายเป็นหลักของกฎหมายไทยสมัยอยุธยาและใช้มาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
       3.  ด้านศาสนา  พระพุทธศาสนาเผยแผ่อยู่ในผืนแผ่นดินไทยมาเป็นเวลายาวนานแล้ว  ดังจะเห็นได้จากแว่นแคว้นโบราณ  เช่น  ทวารวดี  หริภุญชัยได้นับถือพระพุทธศาสนา  หรือสุโขทัย  รับพระพุทธศาสนาจากนครศรีธรรมราชและได้ถ่ายทอดให้แก่อาณาจักรอื่น ๆ ซึ่งมีผลต่อการดำเนินชีวิตและการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมของคนไทยตลอดมา  นอกจากนี้  คนไทยยังได้รับอิทธิพลในการนับถือศาสนาอิสลามที่พ่อค้าชาวมุสลิมนำมาเผยแผ่  รวมทั้งคริสต์ศาสนาที่คณะมิชชันนารีนำเข้ามาเผยแผ่ในเมืองไทยนับตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา
       4.  ด้านวรรณกรรม  ในสมัยอยุธยาได้รับวรรณกรรมเรื่องรามเกรียรติ์  มาจากเรื่องรามายณะของอินเดีย  เรื่องอิเหนาจากชวา  ในสมัยรัตนโกสินทร์ได้มีการแปลวรรณกรรมจีน  เช่น  สามก๊ก  ไซอิ๋ว  วรรณกรรมของชาติอื่น ๆ เช่น  ราชาธิราชของชาวมอญ  อาหรับราตรีของเปอร์เซีย  เป็นต้น
       5.  ด้านศิลปวิทยาการ  เช่น    เชื่อกันว่าชาวสุโขทัยได้รับวิธีการทำเครื่องสังคโลกมาจากช่างชาวจีน  รวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมเนื่องในพระพุทธศาสนาจากอินเดีย  ศรีลังกา
      6.  ด้วยวิถีการดำเนินชีวิต  เช่น   คนไทยสมัยก่อนนิยมกินหมากพลู  รับวิธีการปรุงอาหารที่ใส่เครื่องแกง  เครื่องเทศจากอินเดีย  รับวิธีการปรุงอาหารแบบผัด  การใช้กะทะ  การใช้น้ำมันจากจีน  ในด้านการแต่งกาย  คนไทยสมัยก่อนนุ่งโจงกระเบนแบบชาวอินเดีย  เป็นต้น
          2.  วัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย
          ไทยได้รับวัฒนธรรมตะวันตกหลายด้านมาตั้งแต่สมัยอยุธยา  ในระยะแรกเป็นความก้าวหน้าด้านการทหาร  สถาปัตยกรรม  ศิลปวิทยาการ  ในสมัยรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ 3  เป็นต้นมา  คนไทยรับวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น  ทำให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีของคนไทยมาจนถึงปัจจุบัน
          ดัวอย่างวัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทยที่สำคัญมีดังนี้
         1.  ด้านการทหาร  เป็นวัฒนธรรมตะวันตกแรก ๆ ที่คนไทยรับมาตั้งแต่อยุธยา  โดยซื้ออาวุธปืนมาใช้  มีการสร้างป้อมปราการตามแบบตะวันตก  เช่น  ป้อมวิไชยประสิทธิ์ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา  ออกแบบโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส  ในสมัยรัตนโกสินทร์มีการจ้างชาวอังกฤษเข้ามารับราชการเพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านการทหาร  มีการตั้งโรงเรียนนายร้อย  การฝึกหัดทหารแบบตะวันตก
        2.  ด้ารการศึกษา 
ในสมัยรัชกาลที่ 3  มีชนชั้นนำจำนวนหนึ่ง  เช่น  พระอนุชาและขุนนางได้เรียนภาษาอังกฤษและวิทยาการตะวันตก 
ในสมัยรัชกาลที่ 4  ทรงจ้างครูต่างชาติมาสอนภาษาอังกฤษและความรู้แบบตะวันตกในราชสำนัก
ในสมัยรัชการลที่ 5  มีการตั้งโรงเรียนแผนใหม่  ตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นมาจัดการศึกษาแบบใหม่  ทรงส่งพระราชโอรสและนักเรียนไทยไปศึกษาที่ประเทศต่าง ๆ เช่น  โรงเรียนแพทย์  โรงเรียนกฎหมาย 
ในสมัยรัชกาลที่ 6  มีพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับและการตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       3.  ด้านวิทยาการ  เช่น  ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ความรู้ทางดาราศาสตร์จนสามารถคำนวณการเกิดสุริยุปราคาได้อย่างถูกต้อง  ความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่  ซึ่งเริ่มในสม้ยรัชกาลที่ 3  ในสมัยรัชกาลที่ 5  มีการจัดตั้งโรงพยาบาล  โรงเรียนฝึกหัดแพทย์และพยาบาล  ความรู้ทางการแพทย์แบบตะวันตกนี้ได้เป็นพื้นฐานทางการแพทย์และสาธารณสุขไทยในปัจจุบัน
       ด้านการพิมพ์  เริ่มจากการพิมพ์หนังสือพิมพ์รายปักษ์ภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2387  ชื่อ  "บางกอกรีคอร์เดอร์"  การพิมพ์หนังสือทำให้ความรู้ต่าง ๆ แพร่หลายมากขึ้น  ในด้านการสื่อสารคมนาคม  เช่น  การสร้างถนน  สะพาน  โทรทัศน์  โทรศัพท์  กล้องถ่ายรูป  รถยนต์  รถไฟฟ้า  เครื่องคอมพิวเตอร์  เป็นต้น  ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้แก่คนไทยเป็นอย่างมาก
    4.  ด้านแนวคิดแบบตะวันตก  การศึกษาแบบตะวันตกทำให้แนวคิดทางการปกครอง  เช่น  ประชาธิปไตย  คอมมิวนิสต์  สาธารณรัฐแพร่เข้ามาในไทย  และมีความต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง  นอกจากนี้  วรรณกรรมตะวันตกจำนวนมากก็ได้มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนรูปแบบการประพันธ์จากร้อยกรองเป็นร้อยแก้ว  และการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ในสังคมไทย  เช่น  การเข้าใจวรรณกรรมรูปแบบนวนิยาย  เช่น  งานเขียนของดอกไม้สด  ศรีบูรพา
     5.  ด้านวิถีการดำเนินชีวิต  การรับวัฒนธรรมตะวันตกและสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ มาใช้  ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยแบบเดิมเปลี่ยนแปลงไป  เช่น  การใช้ช้อนส้อมรับประทานอาหารแทนการใช้มือ  การนั่งเก้าอี้แทนการนั่งพื้น  การใช้เครื่องแต่งกายแบบตะวันตกหรือปรับจากตะวันตก  การปลูกสร้างพระราชวัง  อาคารบ้านเรือนแบบตะวันตก  ตลอดจนนำกีฬาของชาวตะวันตก  เช่น  ฟุตบอล  กอล์ฟ  เข้ามาเผยแพร่  เป็นต้น

งานสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นจนถึงปัจจุบัน      

    ศิลปวัฒนธรรมของสมัยสุโขทัย
        ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  ถือเป็นยุคทองของสมัยกรุงสุโขทัย  เนื่องจากได้เกิดแบบแผนความเจริญทางวัฒนธรรมที่เป็นของไทย  ซึ่งความเจริญทางวัฒนธรรมดังกล่าว มีความเกี่ยวข้องกับ  3  รูปแบบ  คือ  พุทธศาสนา  ภาษาไทย  และศิลปะ
        พระพุทธศาสนามีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ จนกลายเป็นวิถีชีวิตของประชาชน  โดยมีวัดเป็น       ศูนย์ กลางทางด้านการวัฒนธรรมของชุมชน  มีบทบาทสำคัญในการเผยแผ่และสั่งสอนคุณธรรมจริยธรรมแก่ประชาชน  และมีอิทธิพลต่อคติการปกครอง ประเพณี  วัฒนธรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับชีวิต  ระเบียบทางสังคมและศิลปะ
         งานสร้างสรรค์ทางศิลปะของกรุงสุโขทัย เช่น พระพุทธรูป เจดีย์จิตรกรรม มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาเป็นสำคัญโดยดัดแปลง รูปแบบศิลปกรรมจากขอม  ให้มีลีลาอ่อนช้อยงดงาม  ตัวอย่างเช่น พระพุทธรูปปางลีลา  ยิ่งกว่านั้นแล้วพุทธศาสนายังมีบทบาทสำคัญต่องานสร้างสรรค์ ทางวรรณกรรมด้วย  ดังตัวอย่าง  บทพระราชนิพนธ์ของพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) คือไตรภูมิพระร่วง
         นอกจากนั้นแล้วเอกลักษณ์ อย่างหนึ่งที่สำคัญของสมัยสุโขทัย  คือภาษาไทย  โดยในสมัยพ่อขุนรามคำแหง  มีการประดิษฐ์อักษรไทย ขึ้นจากเดิมที่เคยใช้ภาษาสันสกฤตหรือภาษาขอม  อักษรไทยดังกล่าวนิยมใช้กันสืบต่อมาจนปัจจุบัน
  ศิลปวัฒนธรรมสมัยกรุงศรีอยุธยา
1)  ศาสนาและศิลปะ
          ชาวกรุงศรีอยุธยานับถือพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์  แต่ได้รับอิทธิพลขอม ศาสนาพราหมณ์ ที่แพร่หลายอยู่ก่อนหน้าการเข้ามาของ พุทธศาสนาอยู่มาก  การผสมผสานกันของพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์จึงเป็นลักษณะสำคัญของศาสนาในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งสะท้อนให้เห็นใน ศิลปกรรมต่างๆ ได้แก่  งานสถาปัตยกรรม  ประติมากรรม  จิตรกรรม  ภาษาและวรรณคดี  และวัฒนธรรมประเพณี
 2)  สถาปัตยกรรม
             สถาปัตยกรรมของสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น  ได้รับอิทธิพลจากขอมและสุโขทัย  เช่น  พระปรางค์วัดพุทไธสวรรค์  วัดราชบูรณะ เป็นต้น  ส่วนสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเป็นเจดีย์แบบเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง  เช่น  เจดีย์วัดภูเขาทอง  วัดชุมพลนิกายาราม เป็นต้น
3)  ประติมากรรม
             พระพุทธรูปได้รับอิทธิพลจากศิลปะขอมเรียกว่า พระพุทธรูปสมัยอู่ทองและตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยานิยมสร้างพระพุทธรูป แบบทรงเครื่อง  อย่างไรก็ตามสมัยกรุงศรีอยุธยาพระพุทธรูปมีลักษณะน่าเกรงขาม  และไม่งดงามเท่าสมัยสุโขทัย
 4)  จิตรกรรม
               จิตรกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นภาพพุทธประวัติใช้สี 3 สีในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น คือ สีด ขาว แล ีแดง  และตอนปลาย เพิ่ม สีเขียว  สีฟ้า และสีม่วง  ภาพที่วาดเป็นภาพธรรมชาติ
 5)  ภาษาและวรรณคดี
                 ภาษาได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมขอม เป็นคำราชาศัพท์ วรรณคดีส่วนใหญ่เกี่ยวกับพุทธศาสนาทีสำคัญ เช่นลิลิตโองการแช่งน้ำ  มหาชาติคำหลวง  ลิลิตยวนพ่าย  ลิลิตพระลอ  และกาพย์เห่เรือ เป็นต้น
 6)    วัฒนธรรมประเพณี
                   วัฒนธรรมกรุงศรีอยุธยา  เป็นลักษณะวัฒนธรรมผสม ระหว่างวัฒนธรรมไทยแท้กับวัฒนธรรมต่างชาติที่สำคัญ ที่สุด  คือ  วัฒนธรรมอินเดียซึ่งรับมาจากพวกพราหมณ์  วัฒนธรรมและประเพณีสำคัญ   เช่น พระราพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา  พิธีพืชมงคล  พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พิธีการบวช  และการทำบุญ  เป็นต้น
  ศิลปวัฒนธรรมสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
 ศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น  มีดังนี้
    1)  ศาสนา
           ในสมัยรัชกาลที่ 1  มีการสังคายนาพระไตรปิฎกที่เรียกว่า  ฉบับหลวงหรือฉบับทองใหญ่  และมีการตรากฎหมายปกครองคณะสงฆ์ ขึ้นเป็นครั้งแรกด้วย  นอกจากนี้ยังมีการสร้างและปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ
 2)  ประเพณีและวัฒนธรรม
            พระราชประเพณีที่สำคัญ เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก  พระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และราชพิธีพืชมงคล เป็นต้น
            ส่วนประเพณีท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับคนไทยโดยทั่วไป  เช่น  การลอยกระทงการเล่นสักวา  การเล่นเพลงเรือ  พิธีตรุษ  สารท  เป็นต้น
 3)  สถาปัตยธรรม
            สถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้  คือการสร้างพระบรมมหาราชวัง
4)  ประติมากรรม
              ประติมากรรมชิ้นเอก  คือ  การแกะสลักประตูกลางด้านหน้าพระวิหารวัดสุทัศน์  และงานตกแต่งหน้าบรรณพระอุโบาสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
 5)  จิตรกรรม
            จิตรกรรมส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนางาน  จิตรกรรมที่สำคัญ   เช่น ภาพเขียนในพระอุโบสถวัด  พระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นต้น
6)  วรรณกรรม 
          สมัยรัชกาลที่  1  วรรณกรรมที่สำคัญ  เช่น  นิราศท่าดินแดง  โครงพยุหยาตรา  และมหาชาติคำหลวง  เป็นต้น
          สมัยรัชกาลที่  2  เป็นยุคทองของวรรณกรรม  วรรณกรรมที่สำคัญ เช่น  ละคร เรื่องขุนช้างขุนแผน  อิเหนา  รามเกียรติ์  และเพลงพากย์โขน เป็นต้น
          กวีสำคัญในสมัยนี้  เช่น  พระสุนทรโวหาร (ภู่)  พระยาตรัง  และสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส เป็นต้น
 7)  ดนตรีและนาฏศิลป์
           การละเล่นที่สำคัญ คือ  โขน  ซึ่งพัฒนามาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์  นิยมเล่นในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  ส่วนละคร มีทั้งละครนอกและละครใน  พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  ทรงมีซอสายฟ้าฟาดคู่พระหัตถ์  และทรงพระราชนิพนธ์  เพลงบุหลันลอยเลื่อน  ซึ่งต่อมา ทรงเรียกว่า  เพลงพระสุบิน
           การปรับปรุงประเทศในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยการปรับปรุงประเทศตามแบบตะวันตก  แทนที่จะ ปรับปรุงประเทศตามแบบอยุธยา อย่างเช่นที่เคยเป็นมา  การปรับดังกล่าวได้แก่
                                   
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3.. . มามีส่วนร่วมกันเถอะ

การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย          การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยสามารถปฏิบัติได้หลายวิธีดังต่อไปนี้

          1.  จัดให้มีการถ่ายทอดวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยจากคนรุ่นเก่าสู่คนรู่นใหม่  เช่น  การอนุรักษ์เพลงพื้นบ้านทั้งลำตัด  เพลงฉ่อย  เพลงเรือ  ด้วยการจัดชมรมประจำท้องถิ่น  หรือการเชิญพ่อเพลงแม่เพลงในชุมชนมาถ่ายทอดความรู้ให้แก่คนรุ่นหลัง  หรือจัดกิจกรรมขึ้นในโรงเรียน  เป็นต้น

          2.  เปลี่ยนแปลงค่านิยมของคนในสังคมที่ละเลยหรือไม่ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทย  เช่น  ควรส่งเสริมการศึกษาและใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากสมุนไพรไทย  เช่น  ที่โรงพยาบาลอภัยภูเบศร  จังหวัดปราจีนบุรี  ได้นำสมุนไพรต่าง ๆ มาสกัดเป็นยารักษาโรค  เครื่องสำอาง  ขายให้กับประชาชนทั้วไป  เป็นต้น

          3.  ร่วมกันทำให้วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันอย่างแท้จริง  ไม่ใช่เป็นเพียงการจัดแสดงหรือรณรงค์เป็นบางช่วงเท่านั้น  เช่น  บางท้องถิ่น  บางหน่วยงานรณรงค์ให้คนในท้องถิ่นหรือในหน่วยงานแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ตัดเย็บจากผ้าพื้นเมือง  ก็ควรหาแบบเสื้อผ้าที่เหมาะสมกับคนทุกวัย  ทุกสาขาอาชีพ  ราคาย่อมเยา  ไม่ควรให้คนรุ่นใหม่คิดว่าการแต่งกายด้วยผ้าพื้นเมืองเป็นความเชย  ดูแลรักษายาก  ราคาแพง  และเป็นเครื่องแต่งกายเฉพาะผู้สูงอายุหรือใช้แต่งเฉพาะเวลามีงานสำคัญเท่านั้น

          4.  สร้างจิตสำนึกให้คนไทยเห็นคุณค่าและร่วมกันอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย  เช่น  ส่งเสริมและปลูกฝังให้เยาวชนรักษากิริยามารยาทแบบไทย  เช่น  มีสัมมาคารวะ  เคารพผู้ใหญ่  มีความอ่อนน้อมถ่อมตน  และรักนวลสงวนตัว  รวมทั้งส่งเสริมให้ใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องทั้งการพูดและการเขียน  เช่น  รณรงค์ให้พูดออกเสียงภาษาไทยให้ชัดเจน  ไม่พูดภาษาไทยปนภาษาอังกฤษ  เป็นต้น

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4.. .บุคคลสำคัญ